ความหลากหลายของมนุษย์ในมิติจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อการพัฒนาผู้เรียน

Main Article Content

เจษฎา บุญมาโฮม
ปราณี สีนาค

บทคัดย่อ

ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นธรรมชาติของมนุษย์ประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนไม่มีใครเหมือนกัน จุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลคือการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความต่างแล้วดำเนินการจัดวางตัวบุคคลเข้าสู่โลกของงานอาชีพ จึงมักทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น หลังปี 2000 เกิดแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกที่เน้นความพึงพอใจต่อการแสดงพฤติกรรมเพื่อให้เกิดคุณค่า ความดี และสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความสุขของบุคคลและสังคม แนวคิดความหลากหลายของมนุษย์จึงเกิดขึ้นเพื่อการยอมรับความต่าง ส่งเสริมความเท่าเทียม และสิทธิมนุษยชนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  การพัฒนามนุษย์ในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการความหลากหลายของมนุษย์เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ บริบทของสถานศึกษาการที่ครูใช้ความหลากหลายของมนุษย์ซึ่งเป็นลักษณะจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อพัฒนาผู้เรียนจะทำให้จัดการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดความหลากหลายของมนุษย์จึงเป็นความท้าทายของครูในโลกยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กณิกนาฏ รักรอด สุทธิรักษ์. (2558). การบริหารความหลากหลายในกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กันยา สุวรรณแสง. (2554). จิตวิทยาทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2563). การจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจษฎา บุญมาโฮม. (2564). มนุษยสัมพันธ์สำหรับครู: จิตวิทยาสัมพันธภาพเชิงกระบวนทัศน์. นครปฐม: สไมล์ พริ้นติ้ง&กราฟิกดีไซน์.

ฉายา อินทรักษ์. (2560). เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องการบริหารบุคคลบนความหลากหลาย. นครศรีธรรมราช: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11.

ชีรา ทองกระจาย. (2561). หน่วยที่ 5 ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์. (2565). จิตวิทยาเชิงบวก: หลักการพื้นฐานและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: โรจน์พริ้นท์ติ้ง.

ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2559). การจัดการความหลากหลายของบุคลากรในองค์กร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 5(2), 1-12.

ปริยานุช วุฒิ ชูประดิษฐ์ และสุภัทร ชูประดิษฐ์. (2565). จิตวิทยาเชิงบวก: กลยุทธ์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1), 1-14.

พนิดา นิลอรุณ จิราวรรณ คงคล้าย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2560). การบริหารความหลากหลายกับประสิทธิผลของทีมงาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 234-245.

พิชิตชัย เจริญกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยา ความพึงพอใจในงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับความสุขในที่ทำงานของชายผู้มีเพศวิถีแบบชายรักชายโดยมีการรับรู้การยอมรับความหลากหลายทางเพศเป็นตัวกำกับ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราภรณ์ จงสกุล. (2562). จิตวิทยาการตอบสนองเพื่อการเข้าใจตัวเองและผู้อื่น. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.gminds.com.

วีรพล แสงปัญญา. (2561). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีสมร สุริยาศศิน. (2560). ความแตกต่างระหว่างบุคคลและโลกของงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศศิธร สังข์ประสิทธิ์. (2556). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา. นครราชสีมา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล: Differentiated Instruction. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 65-75.

ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา. (2559). การพัฒนากรอบความคิด: Growth mindset. กรุงเทพฯ: มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์. (2561). กลุ่มครอบครัวบำบัดแนวแซทเทียร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2561). ฟังเสียงเด็กเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Graber, C. B. (2006). The new UNESCO convention on cultural diversity: counterbalance to the WTO? Journal of International Economic Law, 9(3), 553-574.

Grasha, A. and Reichmann, S. (1975). Workshop handout on Learning Styles. Ohio: Faculty Resource,University of Cincinnati.

Hiles, D. R. (2007). Human diversity and the meaning of difference. In Paper presented at 10th European Congress of Psychology (3-6 July pp. 1-11). Prague, CZ: Union of Psychologists Associations of the Czech Republic.

Law, Ho. (2013). The Psychology of Coaching, Mentoring and Learning. WestSussex: Wiley Blackwell.

Sdorow, L. M., Rickabaugh, C. A. & Adrienne, J. B. (2019). Psychology. New York: McGraw-Hill. Lnc.