พึ่งใหม่: พลังแห่งจิต (สมาธิลืมตา)

Main Article Content

ธันยพร กริชติทายาวุธ

บทคัดย่อ

เพื่อให้บุคคลแต่ละคนมีทักษะในการดูแลรักษาสุขภาวะที่ดีทางจิตใจ การมีความตั้งใจที่ต่อเนื่อง มีสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายที่จะมีเอาชนะใจตนเอง ตั้งใจมีสมาธิได้อย่างต่อเนื่องจนทำกิจบรรลุผลมีประสิทธิภาพ บทความนี้นำเสนอแนวทางในการปรับสภาพจิตใจด้วยการนำสมาธิมาใช้ขณะทำกิจในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นการพัฒนาอัจฉริยภาพให้กับสมองและจิตใจควบคู่กันในทางปฏิบัติ ในบทความนี้ จึงเน้นถึงความสำคัญของการมีที่พึ่งใหม่ที่จะทำให้ทรัพยากรคน ให้เป็นคนที่มีสมองและจิตใจที่ไหลลื่นไม่ติดขัดในการจัดการกับกิจการงานทุกชนิด เพื่อให้การทำงานมีคุณภาพมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เพื่อสร้างพลังจิตใจที่แข็งแรงให้แก่ตนเอง มีสมองและจิตใจที่พร้อมในการทำการงานต่างๆนั้น ก็ไม่พ้นการมีสมาธิที่ดี ด้วยการเข้าใจและมีทักษะการใช้สมาธิแบบลืมตา จะเป็นทางออกที่มาช่วยให้ใช้ในชีวิตจริงได้ ให้มีกายและใจมีสุขภาวะที่ดีได้ รวมถึงการทำให้มีสภาวะลื่นไหล (flow) การสำรวจภาวะแห่งความสุขของจิตใจที่เรียกว่า ภาวะลื่นไหล เป็นความรู้สึกของการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ที่จะพามนุษย์ออกจากความเครียด มีสมองและจิตใจที่ไหลลื่นไม่ติดขัดได้ตลอดทั้งวัน ในเนื้อหานี้จะต่างไปจากการทำสมาธิเพื่อการ "ตื่นรู้" แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้จากการทำสมาธิแบบต่าง ๆ นั้น จะเป็นประสบการณ์ที่ต้องประสบเอง ต้องรู้เองจากการทำสมาธิ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล. (2549). แผนธุรกิจของสถานบริการสุขภาพแบบองค์รวม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล. (2562). การแพทย์บูรณาการสู่ความสุขสบาย. งานการประชุมวิชาการนานาชาติ ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2562. (The 1st International Integrative Medicine for Wellness) ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

Csikszentmihalyi, M. (1997). Finding flow: The psychology of engagement with everyday life.New York: Basic Books.

Srinivas Rao. (2016). Why Deep Work Helps You Get More Done in Less Time. Retrieved October 26, 2020, from https://medium.com/the-mission/why-deep-work-helps-you-get-more-done-in-less-time-39de3f5e9ae6