มองทุกข์ให้สุขได้ตามแนววิถีพุทธ

Main Article Content

ตระกูล พุ่มงาม
วริทธิ์ตา จารุจินดา

บทคัดย่อ

ความทุกข์ เป็นสิ่งที่มีอยู่ประจำตัวของคนเราอยู่แล้ว เนื่องจากสิ่งซึ่งมาเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเราล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น เพราะเราหลงไปยึดเอาสิ่งต่างๆ มาเป็นของตัวเอง เมื่อเสื่อมสลายไป ย่อมเกิดทุกข์เป็นธรรมดา แม้แต่ สิ่งที่เราเรียกว่า ความสุขก็เช่นกัน เมื่อความสุขที่มีเสื่อมสลายไป ใจเราก็โหยหา เสียดายในความสุขนั้น


ความสุขขั้นพื้นฐานในชีวิต เป็นความสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ สุขที่เกิดจากการได้ใช้จ่ายทรัพย์ สุขที่เกิดจากความไม่เป็นหนี้ สุขที่เกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ สุขที่เกิดจากการมีชื่อเสียง สุขที่เกิดจากการได้รับการยอมรับจากสังคม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นความสุขที่สามารถแสวงหาได้ไม่ยากนัก แต่หากต้องการความสุขที่แท้จริง ความสุขที่สมบูรณ์ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นในใจ เป็นความสุขที่ยืนนาน เป็นความสุขที่เป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาความสุขจากวัตถุ มาปะปนเพราะหากเราขาดวัตถุ เราก็จะเกิดทุกข์ นั่นคือ การมีความสุขจากคุณธรรม ความดี และการมีความสุขจากการมีปัญญา ที่เข้าใจถึงความเป็นธรรมชาติในโลก เข้าใจในหลักไตรลักษณ์ ที่แสดงถึงความเป็นปกติธรรมดาของโลก เมื่อเข้าใจความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว เรารู้เราเข้าใจในธรรมชาติของมันแล้ว เราย่อมไม่ทุกข์ไปกับทุกข์นั้น


ชีวิตที่สมบูรณ์ คือชีวิตที่ประกอบไปด้วย กุศลธรรม อาทิ การมีเมตตา และศรัทธา จะเป็นชีวิตที่อิ่มใจ ปิติใจ มีการปฏิบัติต่อกันด้วยเมตตาธรรม เป็นความหวังดี ปรารถนาความสุขต่อกัน เป็นมงคลต่อกัน ตลอดเวลาที่กุศลธรรมยังมีอยู่ประจำในใจ หากเป็นเช่นนี้แล้วความทุกข์ย่อมจางคลายหายไปในมี่สุด


หากเรามีความเข้าใจในสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ มองทุกข์ว่าเป็นธรรมชาติ มองทุกข์ว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดจากตัวเราเองที่ยึดเอาความทุกข์มาไว้กับตัวเรา และเราเข้าใจในหลักธรรมว่า ทุกสิ่งมีเกิดขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง มีการแตกสลายเป็นปกติ ตามหลักไตรลักษณ์ ตามหลักโลกธรรม ตามหลักการเกิดขั้นและดับไปของเหตุและปัจจัย นั่นคือเราจะมีความเข้าใจในทุกข์ เราจะสามรถละวางในความทุกข์นั้น และจะเกิดความสุขขึ้นมาได้

Article Details

How to Cite
พุ่มงาม ต., & จารุจินดา ว. (2022). มองทุกข์ให้สุขได้ตามแนววิถีพุทธ. วารสารพุทธจิตวิทยา, 7(1), 19–27. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/256306
บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2545). คู่มือกิจกรรมเสริมสร้าง ความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-11 ปี. นนทบุรี: โรงพิมพ์ ร.ส.พ. นนทบุรี.

พรรณทิพา ชเนศร์. (2563). พุทธจิตวิทยาประยุกต์กับคนยุค New Normal. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไรเตอร์โซล.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2547). ธรรมฉบับเรียนลัด. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระมหาวิเชียร สุธีโร. (2562). ความสุขในทัศนะของพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สานักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 4(1),43.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2542). พลังการเรียนรู้ในกระบวนทัศน์ใหม่. นนทบุรี: S.R. PRINTING.

วิทยา นาควัชระ. (2547). เพียงเปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยนไป. นิตยสารดิฉัน, 27(666), 87-88.

อภิชัย มงคล และคณะ. (2544). การศึกษาดัชนีชีวิตสุขภาพจิตคนไทย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Dupuy. H.J..(1977). The general well-being schedule. In McDowell. & Clair Newell (Eds.). A. measuring health: A guide to rating scales and questionnaires. New York: Oxford university press.

Reich J. and Diener E. (2004). The Road to Happiness: Five question for Happiness Researcher. Retrieved October 18. 2021. from http://www.psychology today.com/articles/index.php?term =pto-19940701

Wood, S.E., Wood, E.G. (2000). The Essential World of Psychology. 3rd ed.. Massachusetts: Allyn & Bacon.