การพัฒนามนุษย์ตามพุทธวิธี

Main Article Content

จำรัส พรหมบุตร

บทคัดย่อ

การพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธวิธี คือ กระบวนการเรียนรู้ผ่านอายตนะทั้ง 6 และพัฒนามนุษย์แบบบูรณาการโดยใช้หลักไตรสิกขา อันได้แก่ องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (ศีล) องค์ประกอบด้านจิตใจ (สมาธิ) และองค์ประกอบด้านปัญญา (ปัญญา) ที่ โดยมี 2 ขั้นตอน คือขั้นเตรียมความพร้อมและขั้นพัฒนา เพื่อนำไปสู่การพัฒนามนุษย์ทั้งสามด้าน คือพัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญต่อเรื่องจิตเพราะจิตเป็นผู้บงการให้มีบุคคลมีพฤติกรรมต่าง ๆ การพัฒนาจิตของบุคคลตามแนวพุทธศาสนาจึงเป็นการฝึกให้บุคคลมีจิตใจสงบ และพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามที่สังคมต้องการ เพราะเมื่อบุคคลมีจิตใจสงบและคิดแต่ในสิ่งที่ดีแล้ว ก็จะมีผลทำให้ร่างกาย พฤติกรรม หรือการประพฤติปฏิบัติเป็นไปแต่ในสิ่งที่ดีงาม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). การศึกษากับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). ถึงเวลาพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สนิท ศรีสำแดง. (2547). พระพุทธศาสนากับการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). หลักบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพงษ์ ชูเดช. (2542). ผลการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.