ผลของการฝึกอานาปานสติที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของทหารกองประจำการ

Main Article Content

กิตติ จิตร์ตรีฐิน
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
มั่น เสือสูงเนิน

บทคัดย่อ

              วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลของการฝึกอานาปานสติที่มีต่อการลดความวิตกกังวลของทหารกองประจำการ รูปแบบงานวิจัยนี้ เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบก่อนและหลังการทดลอง (pretest-posttest control group design) โดยแบ่งทหารกองประจำการ กองพันทหารม้าที่ 11 จังหวัดสระบุรีเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 40 นาย ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการทดสอบด้วยแบบวัดความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลอง หลังจากนั้นกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกอานาปานสติ ทุกวัน วันละ 15 นาที ก่อนนอน เป็นเวลา 1 เดือนในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้แบบวัดความวิตกกังวล DASS 21  โดยเลือกใช้เฉพาะแบบวัดความวิตกกังวล 7 ข้อ มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ของครอนบาค .797 นำข้อมูลที่ได้จากการวัดมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้  t-test


         ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความวิตกกังวลก่อนและหลังของกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกอานาปานสติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ น้อยกว่า .001 (t = 4.76)

  2. ความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกอานาปานสติ หลังการทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .001 (t = 4.60)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญตา กลิ่นหอม,วิไลวรรณ มุสิกเจียรนันท์ และพิศสมร เดชดวง. (2560). ผลของการจัดการความเครียดด้วยอานาปานสติ และ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(32), 21-33.

ตฏิลา จำปาวัลย์.(2018).ความวิตกกังวลตามสถานการณ์.วารสารพุทธจิตวิทยา,3(1),13.

นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระครูปทุมภาวนาจารย์วิ. และคณะ. (2562). กระบวนการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพุทธจิตวิทยาสำหรับ บุคคลแต่ละช่วงวัย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์,15(1),105.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2552). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พิชญาวดี กงบุราณ.(2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวของพลทหารใหม่กองประจำการ สังกัดกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.กรุงเทพฯ

วัลลภา ผ่องแผ้ว.(2553). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนรวมกับการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติต่อ ความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ เจริญผล. (2547). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปรับตัวทางการเรียนของนักเรียน มัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมสาธิตสถาบันราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Atkinson, R. C., & Shiffrin, R. M., (1968). Human memory: A proposed system and its control processes, In K. Spence & J. Spence (Eds.), The Psychology of Learning and Motivation. 2. New York: Academic Press.

Buzan, T. (1995). Use your Head. London: BBC. Books.

Krohne, H.W. and Laux. (1982). Lothar Achievement stress and anxiety. New York: Hemisphere Publishing.

Lazarus, R. S., & folkman, S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company.

Sperling, G.(1960). The Information Available in Brief Visual Presentations. Psychological Monographs.