ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่กับพฤติกรรมตามแนวพุทธของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยมีความศรัทธาในศาสนาเป็นตัวแปรกำกับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่และพฤติกรรมตามแนวพุทธ.2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่กับพฤติกรรมตามแนวพุทธของวัยรุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีความศรัทธาในศาสนาเป็นตัวแปรกำกับ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Studies) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 481 คน ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ มีค่าความเชื่อมั่น .808 แบบวัดความศรัทธาในศาสนามีค่าความเชื่อมั่น .840 แบบวัดพฤติกรรมตามแนวพุทธมีค่าความเชื่อมั่น .834 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบนำตัวแปรต้นทั้งหมดเข้าสมการ (Enter) การวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงชั้น (Hierarchical Multiple Regression Analysis) และทดสอบอิทธิพลการกำกับ (Analysis of moderation effects ) ด้วยโปรแกรม PROCESS
ผลการวิจัยพบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมตามแนวพุทธ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 321***, p < .001) และพบว่า ความศรัทธาในศาสนา เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่าง อบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจกับพฤติกรรมตามแนวพุทธ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ß = .774*, ∆R2 = .233)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราพร เพชรดำ, นายไพบูลย์ แย้มกสิกร และคณะ. (2554). ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกรณีศึกษาจังหวัดนครนายก (รายงานวิจัย). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก.
พนม เกตุมาน. (2550). พัฒนาการวัยรุ่น. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จาก https://www.psyclin.co.th/new_page_56.htm
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์, ธีระพร อุวรรณโณ, เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์, สุภาพรรณ โคตรจรัส, คัดนางค์ มณีศรี และ พรรณระพี สุทธิวรรณ. (2545). การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของคนไทยกับกระบวนการทางสังคมประกิตของครอบครัวในปัจจุบันที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ. (รายงานวิจัย). คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก. (2544). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทยฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2528). การพัฒนาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสาสนโสภณ (พิจิตร ตวณฺโณ). (2554). กฎแห่งกรรม.นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2557). ธัมมจักกัปปวัตนสูตร. (พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม). ตรวจชำระ พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ: หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2557). ธัมมจักกัปปวัตนสูตร. กรุงเทพฯ: หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
พุทธทาสภิกขุ. (2525). อิทัปปัจจยตา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
มนัสวี ภู่เผ่าพันธุ์. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ปี พ.ศ. 2559 – 2562. วารสารกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เพื่อเผยแพร่ข่าวสารในกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน สารพินิจ, 14(2), 16.
แม่ชีกนกวรรณ ปรีดิ์เปรม. (2563). ผลของการสวดมนต์และการฟังบทสวดมนต์ที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนาต่างกัน. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศรีเพ็ญ สิงห์แก้ว. (2561). หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิต การสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2563, จากhttp://www.ojs.mcu.ac.th/ index.php/jbscm/article/download/2933/2468
ศูนย์เทคโนโลยสาระสนเทศ กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2557). จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ปี 2557 จำแนกตามฐานความผิดเป็นรายสถานพินิจฯ. ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จาก http://www2.djop.moj.go.th/info_act/images/9-1-2.pdf
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2559). จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศ จำแนกตามฐานความผิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558.ค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จากhttp://www.djop.go.th/stat/statbetween2008-2011/item/303
สมสุข นิธิอุทัย. (2554). การพัฒนาเยาวชนตามแนวพุทธในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์. (2518). ธาตุปฺปทีปิถา. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Baron, R. M., & Kenny, D. A. (1986). The moderator-mediator variable distinction in social psychological research: Conceptual, strategic, and statistical consideration. Journal of Personality and Social Psychology, 51(6), 1173-1182.
Baumrind, D (1978). Parental disciplinary patterns and social competence in children. (Research Article). Youth and Society: Institute of Human Development University of Califonia Berkeley.
Hayes,H.F. (2018).The PROCESS macro for SPSS and SAS. Retrieved March 10, 2021, from http://www.processmacro.org/download.html