ผลของโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ชินภัทร เจริญรัตน์
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
วิพุธ เคหะสุวรรณ

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำ 2) เพื่อนำเสนอผลของโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้โปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำ และแบบสอบถามความเครียดของผู้ต้องขังด้วยการใช้ชีวิตประจำวันในเรือนจำ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 24 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายได้แก่ กลุ่มทดลอง 12 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน ที่เป็นผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชที่มีอายุระหว่าง 21-30 ปี กำหนดโทษ 10 ปีขึ้นไป สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และผ่านการทำแบบสอบถามก่อนการทดลอง ได้รับการอนุญาตจากผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเข้าร่วมโครงการดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปี 2563 เป็นเวลา 3 วัน รวมระยะเวลาดำเนินโปรแกรม 13 ชั่วโมง 30 นาที เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามหลังการทดลอง และแบบสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก การลดลองในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Pretest-Posttest design และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสรุปผลการวิจัย


              ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำ หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการเข้าร่วมโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำสามารถลดความเครียดของผู้ต้องขังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำเสนอผลของโปรแกรมดนตรีภาวนาเพื่อลดความเครียดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต. (2541). ความเครียดของประชาชนจังหวัดนนทบุรีในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2535). จิตวิทยาการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเทือง ธนิยผล. (2544). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระมหามนตรี หลินภู. (2551). การศึกษาความเครียด และการลดความเครียดที่มีต่อการใช้ชีวิตภายในเรือนจำของผู้ต้องขัง โดยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยยึดหลักอริยสัจ 4 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทรภรณ์ วงษกรณ์. (2560). ผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อความเครียดในผู้ต้องขัง (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลักขณา สริวัฒน์. (2544). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วงษ์เดือน สายสุวรรณ์. (2544). คู่มือการดูแลสุขภาพจิตผู้ต้องขัง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนิติจิตเวช กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

วรัญญา รุ่งแสง. (2547). ผลของการฟังดนตรีตามความชอบ และดนตรีตามธรรมชาติต่อการลดความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสรีย์ โพธิ์แก้ว. (2553). จากจิตวิทยาสู่พุทธธรรม. นครปฐม: บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด.

อาภา จันทรสกุล. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชา ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา หน่วยที่ 11 หลักธรรมและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

MGR ONLINE. (2563). ผู้ต้องขังป่วยทางจิตสูงกว่า 3 เท่า นำร่องตรวจรักษาผ่านทางไกล 5 แห่ง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27997.

Lupien S. J., Maheu F., TU M., Fiocco A., Schramek, T. E.. (2007). The effects of stress and stress hormones on human cognition: Implications for the field of brain and cognition. Brain and Cognition, 65(3):209-37.