หลักพุทธธรรมเพื่อการเสริมสร้างความสามัคคีในการทำงาน

Main Article Content

วรเศรษฐ์ บัวดอก

บทคัดย่อ

               การทำงานในปัจจุบัน บุคคลมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เนื่องจากความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลมีจำกัด ประกอบกับเราไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ในการทำงานก็เช่นกัน เราอาจมีความรู้ความชำนาญในบางเรื่อง และไม่รู้ในบางเรื่อง ด้วยเหตุนี้ การทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญและกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ถ้านในทีมงานขาดความสามัคคี อาจมีปัญหา มีความแตกแยก และวุ่นวาย ซึ่งอาจเกิดจากขาดความรัก ความเมตตา อิจฉาริษยากัน นินทาว่าร้ายกัน เบียดเบียนและรังแกกัน เห็นแก่ตัว ถืออภิสิทธิ์ อ้างอำนาจบาตรใหญ่ และมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ต่างคนต่างก็ถือความคิดของตนเป็นใหญ่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการจะทำให้องค์กรอยู่ร่วมกัน ทำงานได้อย่างความสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า มีความอบอุ่นและน่าอยู่มากขึ้น พนักงานในองค์กรทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกันอยู่ตลอดเวลา ร่วมมือกันพัฒนาองค์กรให้มีความอบอุ่นและน่าอยู่ โดยการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้น โดยการนำหลักพุทธธรรมเข้าไปประยุกต์ เสริมสร้าง และพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). กรณีธรรมกาย. (พิมพ์ครั้งที่ 15) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อําไพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 38). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พุทธทาสภิกขุ. (2529). ธรรมสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2555). หนังสือในหลวงในดวงใจ. กรุงเทพมหานคร: เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 สืบค้น 5 มกราคม 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th.

วีระ อำพันสุข. (2551). การประยุกต์พุทธธรรม, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ B.E.C.