เจตคติและพฤติกรรมการค้นคว้าหาความรู้ของนักศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์

Main Article Content

วิศรุต ตันติพงศ์อนันต์
อังคณา ใจเหิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อเจตคติของนักศึกษาที่มีกับแหล่งข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์  (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการค้นคว้าหาความรู้ของนักศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์  เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถาม  เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งเพศหญิงและเพศชาย  ที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยสยาม  จำนวน  472 คน  ซึ่งเป็นผู้ที่เคยค้นคว้าหาความรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท  Facebook  Youtube  Wikipedia  และGoogle    


ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีเจตคติต่อแหล่งข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ 4 ประเภท  ในเรื่องแหล่งข้อมูลมีคุณค่า  มีความหลากหลายของเนื้อหา  เป็นพื้นที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลกับผู้อื่นได้  เหมาะสำหรับการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  และข้อมูลเปลี่ยนแปลงทันสมัยอยู่เสมอ  สำหรับพฤติกรรมการค้นคว้าหาความรู้ของนักศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์พบว่า  ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิง  ค้นคว้าหาความรู้ผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภท  Google  มากที่สุด  โดยแหล่งที่ใช้เข้าถึงข้อมูลคือ Smartphone ทำการสืบค้นข้อมูลเป็นประจำในช่วงเวลา 20.01-24.00 น.  วัตถุประสงค์เพื่อหาข้อมูลประกอบการทำรายงาน  นอกจากนั้นเพศ  คณะวิชา  ชั้นปี  เกรดเฉลี่ยสะสม  มีความสัมพันธ์กับเจตคติและพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูล  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรภัทร สุทธิดารา และสัจจะ จรัสรุ่งรวีวร. (2543). รวบรวมเทคนิคการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินโฟเพรส.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พิมพ์คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2559. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2558, จาก http://www.thailibrary.in. th/2014/02/13/thai-edu-master-plan-11/

ชนิตว์ปิยา แสงเย็นพันธ์. (2554). ผลของข้อมูลออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชเนตตี สยนานนท์. (2555). พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเรือง เนียนหอม. (2540). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางอินเทอร์เน็ตในระดับอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาวีณา ฉ่ำกิ่ง. (2546). สภาพและปัญหาการใช้งานอินเทอร์เน็ตในศูนย์การศึกษาจันทรเกษมสหะพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พัชรา คะประสิทธิ์. (2546). การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมธาสิทธิ์ โลกุตรพล. (2555, 14 มกราคม). ผลเสียของสื่อออนไลน์ : ปัญหาของเทคโนโลยี หรือ ปัญหาของสังคม. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2555, จาก https://cujrnewmedia.wordpress.com/2012/01/14

ยุพาวไล วาทีเพชร. (2554). พฤติกรรมการติดตามข่าวสารทางการตลาดผ่าน Social Media : ศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตระดับปริญญาโทมหาวิทยาลัยนเรศวร ศูนย์วิทยบริการ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2537). คู่มือวิจัยเชิงปฎิบัติการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2540 – 2544. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์กิจกรรมศูนย์ประสานงานการฝึกประสบการณ์ด้าน ICT ออนไลน์ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ ICT. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.