การให้คำปรึกษาครอบครัวและผู้สูงอายุ

Main Article Content

พระมหาถาวร ถาวโร

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่ต้องประสบกับภาวะวิกฤตหลายด้าน เช่น การเกษียณอายุ การจากไปของคู่ครอง ญาติมิตร รายได้ลดลง เริ่มเจ็บป่วย มีปัญหาทางสุขภาพชัดเจนมากขึ้น และมีการเสียชีวิตตายของเพื่อนสมาชิกในครอบครัว เป็นช่วงที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมากขึ้น รูปแบบความสัมพันธ์ และบทบาทของสมาชิกในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ การให้คำปรึกษาครอบครัว และผู้สูงอายุ เชิงจิตวิทยาจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อมาช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาของบุคคลในครอบครัว และผู้สูงอายุที่มีทุกข์ภายในใจ ให้สามารถเปลี่ยนแปลง มีการยืดหยุ่น และคลี่คลายทุกข์ได้ด้วยตนเอง ตระหนักรู้ถึงความจริงของธรรมชาติของชีวิตตามแนวพุทธธรรม สามารถเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และใช้ปัญญาไตร่ตรองจนเข้าใจ สาเหตุของทุกข์ คลายจากความยึดมั่น มีจิตใจโปร่งเบาสบาย ทำให้บรรเทาทุกข์ ตลอดจนสามารถพัฒนาตนให้ถึงพร้อมในไตรสิกขาทั้งด้าน ความคิด พฤติกรรม และอารมณ์ความรู้สึก สามารถคุ้มครองชีวิตตนเองให้ไปสู่หนทางที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ได้ โดยใช้แนวคิด และทฤษฎีการปรึกษาเชิงพุทธจิตวิทยาที่มีแนวการปฏิบัติในการให้การปรึกษาอย่างมีเทคนิค มีลำดับขั้นตอน และมีกระบวนการในการให้การปรึกษา

Article Details

How to Cite
ถาวโร พ. (2022). การให้คำปรึกษาครอบครัวและผู้สูงอายุ. วารสารพุทธจิตวิทยา, 7(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/247413
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). พุทธวิธีการสอน.พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2534). พุทธศาสน์กับการแนะแนว. กรุงเทพฯ: กองทุนวุฒิธรรมเพื่อการศึกษา และปฏิบัติธรรม.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2532). เทคนิคการสอนของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ). (2550). การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับแนวคิดตะวันตก (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพลิศพรรณ แดนศิลป์. (2550). ผลการปรึกษาจิตวิทยาแบบกลุ่มโยนิโสมนสิการที่มีต่อปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยง และภาวะความเปลี่ยนแปลง (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป พืชทองหลาง. (2556). รูปแบบการปรึกษาเชิงพุทธตามหลักกัลยาณมิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันวิสาข์ ทิมมานพ. (2559). กระบวนการพุทธจิตวิทยาการปรึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกของผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โสรีย์ โพธิ์แก้ว. (2553). จากจิตวิทยาสู่พุทธธรรม. นครปฐม: บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด.

อาภา จันทรสกุล. (2535). ทฤษฎี และวิธีการให้คำปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา และแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

De Silva. P. (1993). Buddhism and counseling. British Journal of Guidance and Counselling, 21(1),30-34.

V.C. Good. (1993). Dictionary of Education. New York: McGraw – Hill Book Company.

C.H. Patterson. (1973). Theories of Counseling and Psychotherapy. 2nd ed .New York: Harper & Row, Publisher.

Allen E Ivey. and Lynn Synek Dawning. (1980). Counseling and Psychotherapy: Skills. Theories and practices. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Richard S. Sharf. (2012). Theories of Psychotherapy and Counseling Concepts and Cases. 5thed. CA: A Division of Cengage Learning, Inc.