ความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาของข้าราชการ สังกัดสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

Main Article Content

กันต์พงษ์ เดชอภิรักษ์ชน
นิรนาท แสงสา

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาของข้าราชการ สังกัด
สำนักนโยบายและแผนกลาโหม” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการ
ทำงานของข้าราชการสังกัดสำนักนโยบายและแผนกลาโหม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อ
ความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาของข้าราชการสังกัดสำนักนโยบายและแผนกลาโหม
3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาของข้าราชการ
สังกัดสำนักนโยบายและแผนกลาโหม วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยเป็นแบบสอบถามความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาของข้าราชการสังกัดสำนัก
นโยบายและแผนกลาโหม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้คือ ข้าราชการสังกัดสำนักนโยบาย
และแผนกลาโหม จำนวน 222 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
Statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent


Samples t-test และ F-test (One-Way ANOVA) และใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์
สัน (Pearson Correlation Coefficient) ในการทดสอบสมมติฐาน แสดงระดับความสัมพันธ์ ของ
สัมประสิทธิ์สหพันธ์ (r)
ผลการวิจัย พบว่า ข้าราชการสังกัดสำนักนโยบายและแผนกลาโหม มีระดับความสุขใน
การทำงานอยู่ในระดับมาก ( x = 3.67) ทุกคนในครอบครัวมีการแสดงออกความรักที่อบอุ่นต่อกัน
ด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาของข้าราชการสังกัด
สำนักนโยบายและแผนกลาโหม พบว่า สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลา
ทำงานในสำนักนโยบายและแผนกลาโหม แตกต่างกันมีความสุขในการทำงานแตกต่างกัน ส่วน เพศ
อายุ แตกต่างกันมีความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน
ด้านความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาของข้าราชการสังกัดสำนักนโยบายและ
แผนกลาโหม ได้แก่ ความพอใจรักใคร่ ความขยันหมั่นเพียร ความรอบคอบ และความรู้จักไตร่ตรอง
มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน ดังนั้นการสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธ
จิตวิทยา (รายด้าน ภาพรวม) มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของข้าราชการสังกัดสำนัก
นโยบายและแผนกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน
(เนื่องจาก r มีค่าเป็นบวก) นั้นคือ เมื่อการสร้างความสุขในการทำงานตามหลักพุทธจิตวิทยาเพิ่มขึ้น
จะทำให้ความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นตาม

Article Details

บท
บทความวิจัย