แนวคิดการพัฒนาศักยภาพผู้ประนีประนอมในศาลยุติธรรม

Main Article Content

ชายะ มัณฑนาจารุ

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพหรือประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลนั้น ส่งผลต่อความสำเร็จ
หรือความก้าวหน้าในอาชีพและองค์กร การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์จึงได้กลายเป็นความนิยมใน
หลายองค์การ จากคำที่ใช้แบบดั้งเดิม “การอบรมและการพัฒนา” ที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
การฝึกอบรม การพัฒนาอาชีพ การบริหารจัดการด้านอาชีพ การพัฒนาองค์การรวมถึงการฝึกอบรม
เป็นต้น หลายองค์การได้บูรณาการองค์ประกอบเหล่านี้มาใช้ในแวดวงของการบริหารและพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ เช่น การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ สำหรับผู้ที่จะทำหน้าที่ผู้ประนีประนอมในศาล
ยุติธรรมนั้น ต้องเป็นผู้มีศักยภาพเพียงพอจึงจะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้
โดยศักยภาพที่จำเป็นสำหรับผู้ประนีประนอมและแนวทางการพัฒนาศักยภาพประกอบด้วย
1) ศักยภาพด้านการจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2) ศักยภาพด้านศิลปะการไกล่เกลี่ย
3) ศักยภาพด้านการวางตัวและการ แสดงออกทางสังคม 4) ศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ
5) ศักยภาพด้านการรักษาความลับ และ 6) ศักยภาพด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการดำรงตนและ
ครอบครัว (สำนักระงับข้อพิพาท, 2550)

Article Details

บท
บทความวิชาการ