กลวิธีการใช้ภาษาบริภาษที่ปรากฏบนแฮชแท็กพระมหาเทวีเจ้า ในแอปพลิเคชัน TikTok
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาบริภาษที่ปรากฏในแฮชแท็กพระมหาเทวีเจ้าในแอปพลิเคชัน TikTok เก็บข้อมูลจากแฮชแท็กพระมหาเทวีเจ้า ในแอปพลิเคชัน TikTok ที่มียอดจำนวนผู้เข้าชมไม่ต่ำกว่า 5 แสนครั้ง จำนวน 50 คลิป ในระหว่าง พ.ศ. 2564-2565 ผลการศึกษาพบว่าถ้อยคำบริภาษสามารถแบ่งกลวิธีการบริภาษออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) การบริภาษแบบตรง พบ 2 วิธีการ ได้แก่ การใช้คำที่แสดงความหมายทางลบของผู้ถูกบริภาษ และการบริภาษด้วยสำนวนที่แสดงข้อบกพร่องของผู้ถูกบริภาษ และ 2) การบริภาษแบบอ้อมพบ 8 วิธีการ ได้แก่ การถาม การใช้ถ้อยคำนัยผกผันในรูปวัจนกรรมต่าง ๆ การใช้ความเปรียบหรืออุปลักษณ์ การกล่าวเกินจริง การเล่นคำ การใช้สำนวน การแสดงความรู้สึกแทนผู้ถูกบริภาษ และการดูถูกตนเอง ซึ่งพบว่าผู้บริภาษใช้กลวิธีในการบริภาษแบบอ้อมมากกว่ากลวิธีการบริภาษแบบตรง ทั้งนี้กลวิธีการใช้ภาษาบริภาษยังสะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ทางภาษาที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปในสังคมปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
กรกนก บุญมรกต. (2561). การศึกษาคำบริภาษในภาษาถิ่นใต้ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติ พันธุ์. (ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย
ทิพวัลย์ เหมรา. (2560). ถ้อยคำบริภาษของผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสาน บ้านสระบัว ตำบล สระบัว อำเภอแดนดง จังหวัดบุรีรัมย์. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศิลปากร, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย
ไทยรัฐ. (2560). จะด่าใครคิดให้ดี เทียบชัด ๆ ด่าหยาบคาย VS หมิ่นประมาท แบบไหน เจอโทษ หนัก?. สืบค้น 2566, สิงหาคม, 18, จาก https://www.thairath.co.th/news/952403
ปรึกษากฎหมายร้องเรียน ร้องทุกข์. (2562). ด่า "อีเหี้ย'-'อีสัตว์' -'อีควาย" มีความผิด อย่างไร. สืบค้น 2566, สิงหาคม, 18, จาก https://www.facebook.com/1495897350425901/posts/268635264471 3693/
พัชราภา เอื้ออมวรนิช. (2566). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นไทยใน กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 3(43), 97-109.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน,
ศุภชัย ต๊ะวิชัย. (2556). การนำสัตว์มาใช้เป็นคำเรียกคนในภาษาไทย : กรณีศึกษานักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 64-67.
อรรถวิทย์ รอดเจริญ. (2552). การศึกษาการใช้ภาษาบริภาษของนักการเมืองไทย. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย
Doyoumind. (2023). สรุป 14 เทรนด์ดิจิทัล และอินไซต์ Social Platform ประจำปี 2023. จาก We Are Social. สืบค้น 2566, มีนาคม, 7, จาก https://www.rainmaker.in.th