การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพรหมวิหารธรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พระอธิการภูวนาท จารุธมฺโม (ชูทอง)

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพรหมวิหารธรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพรหมวิหารธรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อมั่น ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1)การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพรหมวิหารธรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวม ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.15) อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านอุเบกขา (ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.31) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านมุทิตา (พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.14) อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านเมตตา (ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} = 4.06) อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2)ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพรหมวิหารธรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้ความสำคัญโดยการส่งเสริมให้ประชาชนนำหลักธรรมมาปฏิบัติ ทำให้ประชาชนในชุมชนมีความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีสัมพันธภาพอันดีในชุมชน ส่งเสริมให้ทุกคน มุ่งสร้างประโยชน์แก่ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว จัดฝึกอาชีพ และจัดหาตลาดชุมชนให้ผู้เข้าฝึกอาชีพสามารถจำหน่ายสินค้าที่ได้จากการฝึกอบรมอาชีพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากการสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน ผู้นำชุมชน ควรส่งเสริมในเรื่องประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนคนรุ่นหลังได้อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมือง การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพรหมวิหารธรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถือเป็นหลักธรรมของผู้มีจิตใจสูง การให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความยินดีเสียสละ ทำให้สังคมอยู่อย่างมีความสุข เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต้องมีในตัวบุคคลและควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตนและลูกหลานต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
จารุธมฺโม (ชูทอง) พ., “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพรหมวิหารธรรมของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, ้่j of human, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 108–126, มิ.ย. 2024.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (ตุลาคม, 2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579), สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2565 จาก, http://www.oie.go.th/sites/ default/files/attachments/industry_plan/thailandindustrialdevelopments4.0.pdf.

พระณัฐชัย จำปา. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 กับการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดพะเยา. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา.

พระปลัดมงคล วราสโย (เรืองอาคม). (2561). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมชาย จนฺทสาโร (ถนัดกิจตระกูล). (2562). บทบาทของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนสุขฤดี แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์สมนึก สมณธมฺโม (อุทัยแสงไพศาล). (2561). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูตามหลักพรหมวิหาร 4 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคนอื่นๆ. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. นครปฐม: ธรรมดาเพรส.

สุดารัตน์ ไกรเนตร. (2561). การใช้พรหมวิหาร 4 เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับพัฒนาชุมชนเลียบคลองทวีวัฒนา เขตบางแค กรุงเทพมหานคร. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุปรีชา ชำนาญพุฒิพร และ คณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยหลักพรหมวิหารธรรมของผู้สูงอายุในชุมชนของเทศบาลตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง, วารสาร มมร วิชาการล้านนา, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)

อนิตยา เพชรเรือง และ คณะ. (2562). สารจากตำบลบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Chantavanich, S. & Thaiyanan, W. (1996). Concepts and Indicators of Social Development and Quality of Life of Thailand. In Anuchat Poungsomlee and Orathai Ard-am (Editor). Development of Indicators Quality of Life and Thai Society. Bangkok: The Thailand Research Fund.

UNESCO. (1981). Quality of Life: An Orientation to Population Education. New York: UNESCO.

WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization Quality of life assessment (WHOQOL): Position paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine 41: 1403-1409.