แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาในบทบาทของสถาบันอุดมศึกษากับการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางภาษาในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษาในบทบาทของสถาบันอุดมศึกษากับการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางภาษาในศตวรรษที่ 21 โดยการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอในประเด็นความสำคัญของการสื่อสาร ปัญหาในการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษา ตลอดจนเสนอแนวทางในการพัฒนา จากการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร พบว่า ทักษะการสื่อสารเป็นทักษะที่จำเป็นและสำคัญในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงาน ซึ่งนักศึกษาจำเป็นที่จะต้องเพิ่มพูนความรู้และความสามารถ แต่จากสถานการณ์การใช้ภาษาไทยของนักศึกษาในปัจจุบัน พบว่า การเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางภาษาไทยในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้การใช้ภาษาไทยมีความผิดเพี้ยนไปจนกระทั่งมีผลต่อการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาในระดับมาก ดังนั้นแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักศึกษา จึงควรเริ่มที่หลายสถาบันควรมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาของรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เน้นประเด็นการนำไปใช้ให้ถูกตาสถานการณ์และบริบท นำแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน (Task - Based Learning) มาปรับใช้กับการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักศึกษาได้เข้าร่วมเพื่อเสริมทักษะการสื่อสารภาษาไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
กาญจนา ต้นโพธิ์ และนันทพร ศรจิตติ. (2564). การพัฒนาทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(2), 164-174.
กานต์รวี ชมเชย. (2556). ภาษาไทยเน็ต : ภาษาเฉพาะกลุ่มของคนไทยรุ่นใหม่ในการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
จรุงภรณ์ กลางบุรัมย์. (2558). ภาษาวัยรุ่นกับการเปลี่ยนแปลงไวยากรณ์ไทยในยุคโซเซียลเน็ตเวิร์ค. วารสารมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(1), 345.
ซารีณา นอรอเอ และคนอื่นๆ. (2561). ลักษณะการใช้ภาษาบนสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา, 950.
แพง ชินพงศ์. (2550). วิกฤติภาษาไทย แก้ได้ด้วย“รัก”. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 20, 2566 จาก https://mgronline.com/qol/detail/9500000087515
รุ่งรัตน์ ทองสกุล. (2562). การใช้ภาษาไทยผ่านเฟซบุ๊กของผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, การประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4, วันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2562 ณ โรงแรมทินิดี จังหวัดระนอง, 1013.
ศิรินทิพย์ เด่นดวง. (2562). วัฒนธรรมไทยยุค 4.0: การใช้ภาษาของคนไทยในสื่อสังคมออนไลน์, งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, วันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 1574.
สุจิตรา ประชามิ่ง, ณัฐวุฒิ พิมชาลี และนิธินาถ อุดมสันต์. (2560). การใช้ภาษาแชทในการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันไลน์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 80.
สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ. (2558). อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. วารสารมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(3), 82.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
อาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย. (2560). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สูตรไพศาลบิวเตอร์.
อุเทน สวัสดิ์ทอง. (2555). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสาร. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 20, 2566 จาก https://introcommunications.wikispaces.com/
อุไรวรรณ คำพิลา และทัฬห์ธีรดา นาคเสน. (2565). การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม. Research article Journal of Engineering Technology Access, 2(1), 67.