นวัตกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวในธุรกิจโรงแรมจังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่มีต่อนวัตกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีต่อการเข้ามาท่องเที่ยวในธุรกิจโรงแรมจังหวัดตรัง วัตถุประสงค์ของการศึกษาบทความนี้ คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว (เพศ, อายุ, ภูมิลำเนา, ระดับการศึกษา, สถานภาพ) กับนวัตกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าพักในธุรกิจโรงแรมจังหวัดตรัง เพื่อวิเคราะห์ว่าสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทใด (สื่อมวลชน, สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อกิจกรรมพิเศษ, สื่ออินเทอร์เน็ต, สื่อบุคคล) มีอิทธิพลต่อการรับรู้และการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวมากที่สุด เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจโรงแรมในจังหวัดตรังผ่านการใช้ และสื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมในโลกยุคดิจิทัล โดยแยกตามประเภทของตัวแปรต้นประกอบด้วย เพศ อายุ ภูมิลำเนา ระดับการศึกษา สถานภาพ และตัวแปรตามประกอบด้วยนวัตกรรมการสื่อสาร สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกิจกรรมพิเศษ สื่ออินเตอร์เน็ตออนไลน์ และสื่อบุคคลหรือสื่อคำพูด ซึ่งจากการศึกษาวรรณกรรมพบว่า ประเด็นที่น่าสนใจศึกษามีดังนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่มีต่อนวัตกรรมสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีต่อการเข้ามาท่องเที่ยวในธุรกิจโรงแรมจังหวัดตรัง กรอบแนวคิดที่ได้นี้ สามารถนำไปใช้ในการศึกษาเพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจจากสื่อประชาสัมพันธ์ในธุรกิจโรงแรม นักท่องเที่ยวที่เข้าพักในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดตรังได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีรูปแบบใดเข้าถึงความต้องการของลูกค้าด้วยความทันสมัย รวดเร็ว ครอบคลุมทุกเครือข่าย สอดรับการเปลี่ยนแปลงในยุคการตลาดยุคดิจิทัล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
การท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัด ปี 2567 (Domestic Tourism Statistics (Classify by region and province 2024). กรุงเทพฯ
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2559). การเลือกให้ความสนใจต่อสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวประเทศไทยเทียบกับประเทศคู่แข่งในอาเซียนนของชาวจีนวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, ปีที่ 11 (ฉบับที่4). สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2562, จากfile:///C:/Users/GT/AppData/Local/Packages/Microsoft.MicrosoftEdge_8wekyb3d8bbwe/TempState/Downloads/DigitalFile_255539%20(1).pdf
จเรวัฒน์ เทวรัตน์. (2555). พฤติกรรมและความต้องการของผู้สมัครเรียนในการเปิดรับสื่อ
ประชาสัมพันธ์ ของศูนย์วิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นครศรีธรรมราช. การวิจัยภาระงานประจำ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2563). การจัดการการบริการของธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิพย์วรรณ์ พัลวรรณ. (2565). นวัตกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ผ่านการสื่อสารเครือข่ายสังคมออนไลน์ “พีอาร์ยุคโควิด ต้องพลิกวิกฤติเป็นโอกาส” วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช P.14-25
ธเนศ อุ่นปรีชาวณิชย์ และชลธิชา อยู่พ่วง. (2560). สื่อประชาพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเพื่อศึกษาต่อที่สถาบันการอาชีวศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัด ใกล้เคียง. วารสารรายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ, ปีที่ 17 สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2562, จากhttp://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/119-25600830215222.pdfนักประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคลตรัง. (2562). (การสื่อสารส่วนบุคคล, 27 กุมภาพันธ์ 2562)
นิศศา ศิลปเสรฐ. (2560). สถานการณ์และแนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2556). บทบาทของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ-วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปีที่7 (ฉบับที่3) สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2562, จากhttps://www.tci-
thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/31426
ภัทราภร รุจิระเศรษฐ. (2559). การประชาสัมพันธ์และอิทธิพลการบอกเล่าปากต่อปากที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภายในจังหวัดสิงห์บุรีของนักท่องเที่ยว. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้น 2 กุมพาพันธ์ 2562,จากhttp://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1231/1/wipawan_mano.pdf
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร. (2559). องค์ประกอบการท่องเที่ยวและช่องทางการสื่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวอนาคต กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก (คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร). มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้น 27 กุมพาพันธ์ 2562,จาก file:///C:/Users/GT/AppData/Local/Packages/Microsoft.MicrosoftEdge_8wekyb3d8bbwe/TempState/Downloads/1753-1-7495-2-10-20180322%20(1).pdf
สุนิทรา วงศ์แสนสุข. (2558). สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อกระบวนการเปิดรับสื่อ กรณีศึกษา:
ผู้สนใจซื้อสินทรัพย์ของ BAM ในสำนักงานภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นเมื่อ26 กุมพาพันธ์ 2562, จากhttp://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56710049.pdf
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง. (2555). สื่อประชาสัมพันธ์. สืบค้น 2 กุมพาพันธ์ 2562, จากhttp://km.rubber.co.th/index.php?option=com
สำนักงานสถิติจังหวัดตรัง. (2560). สถิตินักท่องเที่ยวจังหวัดตรัง. สืบค้น 3 มีนาคม 2562, จาก
อภิชัจ พุกสวัสดิ์, ภาณุฤทธิ์ สารสมบัติ. (2565). บทบาทและคุณค่าของสื่อดิจิทัลต่อนักวิชาชีพประชาสัมพันธ์.วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. P. 98-118 สมุทรปราการ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
อัญนา กุสิยารังสิทธิ์. (2551). สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.