ผู้นำกับกระบวนการถ่ายทอดความรู้ สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ กรณีบ้านคุ้งวังวัว ตำบลควนกลาง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

จรุ ถิ่นพระบาท
เหม ทองชัย
ลัญจกร นิลกาญจน์

บทคัดย่อ

 ผู้นำองค์กร กระบวนการถ่ายทอดความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทชุมชน บทบาทผู้นำชุมชนและทีมงาน กระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของบ้านคุ้งวังวัว ตำบลควนกลาง  อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการ ศึกษาเอกสาร หลักฐานร่องรอยในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทผู้นำและการจัดกิจกรรมชุมชนแนวชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ลึกและสนทนากลุ่ม นำมาวิเคราะห์เชิงปรากฎการณ์และเชิงทฤษฎี


ผลการวิจัยพบว่า บริบทบ้านคุ้งวังวัว เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดคุ้งน้ำของแม่น้ำตาปี มีแนวภูเขาขนาบ เป็นจุดน้ำลึก (วังน้ำ)  เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมสูงอย่างรวดเร็ว การคมนาคมในยุคดก่อนไม่สะดวก ทำให้ผู้นำชุมชน มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกับคนในชุมชนเสมอมา ยุคสมัยเปลี่ยนปัญหาเปลี่ยน แต่ผู้นำและทีมงานในชุมชนยังคงร่วมมือมุ่งมั่นทำงานชุมชนอย่างเข้มแข็ง  ผู้นำและทีมงานรุ่นใหม่พยายามเรียนรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบมีส่วนร่วมด้วยกันอยู่เสมอจากกิจกรรมชุมชนที่มีผู้อาวุโสร่วมทีม จึงมีผู้นำที่มีการถ่ายทอดความรู้และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง

Article Details

How to Cite
[1]
ถิ่นพระบาท จ., ทองชัย เ. ., และ นิลกาญจน์ ล. . ., “ผู้นำกับกระบวนการถ่ายทอดความรู้ สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ กรณีบ้านคุ้งวังวัว ตำบลควนกลาง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 2, น. 124–140, ธ.ค. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ปัญญา เลิศไกร และลัญจกร นิลกาญจน์. (2559). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม. วารสารนาคบุตร ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2); 1-10.

ปัญญา เลิศไกร มัลลิกา คงแก้ว และลัญจกร นิลกาญจน์. (2560). การจัดการศึกษาฝ่าวิกฤติด้วยฐานคิดเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 15(1); หน้า 20-26.

ปัญญา เลิศไกร นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์ ลัญจกร นิลกาญจน์ และกฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์. (2562). การจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาองค์กร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 ตุลาคม : 3746 – 3757

ประยูร ภักดีพัฒนาทร, ปัญญา เลิศไกร, ศศลักษณ์ ทองขาว (2564). ปรากฏการณ์วิทยากับการศึกษาวิถีชีวิตครอบครัวคุณแม่มือใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (10), 67-79.

ลัญจกร นิลกาญจน์ ปัญญา เลิศไกร และสุดาวรรณ์ มีบัว. (2560). เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน .วารสารนาคบุตรปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 9 (1): หน้า 203-211

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2544). ผู้นำการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สภาการศึกษา. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการดำเนินการยกย่องครูภูมิปัญญาไทย ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาการศึกษา เศรษฐกิจ และสังคมในท้องถิ่นอย่างครบวงจร. กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการกระทรวงศึกษาธิการ.

หอมรดกไทย. (2551). [Online]. Available: http://www1.mod.go.th/heritage/king/rama9/ rama91.html, [2552, มีนาคม 15].

Punya Lertgri Lunjakon Nillakan Krittaporn Saengae Saijun and ichianThaicharoen. (2020). Culture and Social management. International Journal of Psychosocial Rehabilitation. ISSN:1475- 7192, 24(02), Month: February: 7187-7192.

P Pukdeepatanatorn, P Lertgrai, S Tongkaw. (2021). THE PHENOMENOLOGY AND THE STUDY OF FAMILY LIFE OF BEING NEW MOTHERS. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology. 6 (10), 67-79.

Somkid Tubtim, Lunjakon Nillakan and Patcharee Sumethokul. (2022). Agricultural Resource Management Model For Sustainable Tourism By The Community. Journal of Positive School Psychology. http://journalppw.com . Vol. 6, No. 8, 4050-4059