การโหยหาอดีตสู่ประเพณีประดิษฐ์ในพื้นที่การท่องเที่ยวในสังคมไทย

Main Article Content

ยุทธกาน ดิสกุล

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิดการโหยหาอดีตและประเพณีประดิษฐ์ผ่านบริบทการท่องเที่ยว ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยผลการศึกษาพบว่า ทั้งแนวคิดการโหยหาอดีตและประเพณีประดิษฐ์ต่างมีจุดร่วมในการพิจารณา 2 ประการคือ 1) การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม โดยการสร้างภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมในอดีตที่สามารถสะท้อนผ่านกระบวนการรื้อฟื้นประเพณีตลอดจน การสร้างสรรค์งานเทศกาล รวมทั้งการจำลองสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคสินค้าทางวัฒนธรรม และ 2) การประกอบสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นในพื้นที่ท่องเที่ยว อันเกิดจากการสร้างความหมายของความเป็นท้องถิ่นโดยอาศัยปฏิบัติการทางวัฒนธรรมในการกำหนดและเลือกสรรจากการพัฒนาศักยภาพทุนวัฒนธรรมที่ปรากฎอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การกำหนดรูปแบบ เนื้อหา วิธีการนำเสนอ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในบริบทของการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่นดังกล่าวมิใช่แค่เพียงเพื่อตอบสนองเป้าหมายเศรษฐกิจหรือการสร้างรายได้ผ่านการท่องเที่ยวเพียงเท่านั้น หากแต่มีการช่วงชิงความหมายความเป็นท้องถิ่นผ่านบริบทของเวทีการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
[1]
ดิสกุล ย. ., “การโหยหาอดีตสู่ประเพณีประดิษฐ์ในพื้นที่การท่องเที่ยวในสังคมไทย”, ้่j of human, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 30–49, มิ.ย. 2024.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กรกนก แก้วเกิด, เมตตา ศิริสุข, และพิทักษ์ น้อยวังคลัง. (2563). อัตลักษณ์ศิลปะผ้าทอพื้นบ้านเขมรถิ่นไทยในประเพณีประดิษฐ์สร้างของชุมชนบ้านตารอด ตำบลสวาย จังหวัดสุรินทร์ . วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(4), 96-104.

เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. (2556) ความคิดเห็นและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ต่อความจริงแท้ในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารดำรงวิชาการ, 12(1), 109-134.

ชนิดา ชิตบัณฑิต. (2545). “การเร่งผลิตประเพณีมวลชนในยุโรป 1870-1914 จากบทความ Mass-Producing Tradition: Europe 1870-1914 ของ เอริค ฮอบสบอว์ม”. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 20(1), 202-218.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2561, 1 มีนาคม). Retro market ในกระแส Nostalgia Tourism. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 4, 2565 https://www.tatreviewmagazine.com

ณัฐนรี สมิตร. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวถวิลหาอดีตในพื้นที่อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 342-360.

ดาริน อินทร์เหมือน. (2545). แนวคิดเรื่องการประดิษฐ์ประเพณี จาก Introduction: Inventing Tradition ของอิริค ฮอบบอส์ม. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 21(1), 198-202.

ธนวรรธน์ นิธิปภานันท์. (2558). ประเพณีประดิษฐ์กับการเปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 32(3), 142-158.

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2560). ประเพณีประดิษฐ์ในชุมชนอีสานลุ่มน้ำโขง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฎการณ์โหยหาอดีตในสังคมร่วมสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ภาณุรังษี เดือนโฮ้ง และชยพล อินทรวงค์. (2561). เมืองลับแล...เมืองต้องห้าม (พลาด) : อัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวในบริบททางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมชุมชนกรณีศึกษา อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 147-158.

มงคลรัตน์ มมัดซอและ. (2553). การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาบ้านพิพิธภัณฑ์. วารสารดำรงวิชาการ, 9(2), 67-80.

มณีรัตน์ กำลังเกื้อ และวรรณนะ หมูหมื่น. (2560). บุญสารทเดือนสิบกับการปรับเปลี่ยนเป็นประเพณีประดิษฐ์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,12(41), 35-46.

มณีรัตน์ กำลังเกื้อ. (2561). พิธีกรรมและประเพณีประดิษฐ์สารทเดือนสิบ ตำบล สิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

รุ่งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2555). การโหยหาอดีต: ความเป็นอดีตในสังคมสมัยใหม่. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 4(2), 59-89.

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). “คติชนสร้างสรรค์”: บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล, ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์, สภาภรณ์ จินดามณีโรจน์ และอำนาจ เย็นสบาย. (2556). ตลาดย้อนยุคสามชุก: การเมืองเรื่องพื้นที่และธุรกิจแห่งการถวิลหาอดีต. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(2), 67-77.

สกาวรัตน์ บุญวรรโณ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2560). พื้นที่ย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า: การประกอบสร้างอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวถวิลหาอดีต. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(1), 61-77.

สกาวรัตน์ บุณวรรโณ เก็ตถวา บุญปราการ และวันชัย ธรรมสัจการ. (2561). การโหยหาอดีตกับการกลายเป็นสินค้าในมิติการท่องเที่ยวของสังคมไทย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(39), 1-14.

สายชล แก้วบริสุทธิ์. (2555). เทศกาลกินเจหาดใหญ่: พื้นที่ประดิษฐ์เพื่อการท่องเที่ยว. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สารภี ขาวดี. (2559). ประเพณีแซนโฎนตาบูชา จังหวัดสุรินทร์: การประกอบสร้างและบทบาทของประเพณีประดิษฐ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สิตานันท์ สาลีผลิน และล่ำสัน เลิศกูลประหยัด. (2563). ปัจจัยศักยภาพการท่องเที่ยงเชิงโหยหาอดีต และส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตลาดย้อนยุคในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 12(2), 12-24.

สิรัชญา วงษ์อาทิตย์ และยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 115-131.

อรรถพล จันทร์ศรีละมัย และปัทมาวดี ชาญสุวรรณ. (2564). ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารมนุษยสังคมสาร, 19(1), 21-36.

Hobsbawm, Eric. (1983). Introduction: Inventing Traditions, pp. 1-14. In Hobsbawm, Eric and Terence Ranger (eds.) (1983). The Invention of Tradition. Cambridge: Cambridge University Press.

Kelly, Wiliam W. (1986). Rationalization and Nostalgia: Cultural Dynamics of New Middle-class Japan. American Ethnologist, 13 (November), 603-618.