การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

คมสิทธิ์ สิทธิประการ
ภัชญาภา ทองใส
วิกรม ฉันทรางกูร
กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างคู่มือภาษาอังกฤษ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกอบการ SMEs ที่มีต่อการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการบริการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการ SMEs ขนาดย่อมประเภทร้านอาหารและเครื่องดื่มในอำเภอขนอม อำเภอสิชลและอำเภอท่าศาลา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม แบบทดสอบก่อนและหลังการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ คู่มือการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการบริการและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test


          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการ SMEs มีความต้องการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการบริการ ในหัวข้อเรื่อง การต้อนรับ การรับรายการอาหารและการจ่ายเงิน การบอกทิศทาง  การร้องเรียน การกล่าวขอบคุณและกล่าวลาลูกค้า ผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการบริการมีคะแนนทดสอบหลังการพัฒนาสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ประกอบการ SMEs มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23) แสดงให้เห็นว่าการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการบริการช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้ประกอบการ SMEs ประเภทร้านอาหารและเครื่องดื่มให้ดีขึ้นได้

Article Details

How to Cite
[1]
สิทธิประการ ค. ., ทองใส ภ. ., ฉันทรางกูร ว. ., และ แซ่แง่ สายจันทร์ ก. ., “การพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการบริการสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 14, ฉบับที่ 1, น. 127–146, มิ.ย. 2024.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

จิตรลดา รามพันธุ์ และสุทัศน์ นาคจั่น. (2560). การพัฒนาคู่มือการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการอาหารและเครื่องดื่มบนแอปพลิเคชั่นเฟสบุ๊ค สำหรับนักศึกษาสาขางานโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 19(1), 29-43.

นลิน สีมะเสถียรโสภณ และบวรลักษณ์ เกื้อสุวรรณ. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ. วารสารวิชาการ, 7(2), 57-73.

พิมพ์จินดา อาการส และคณะ. (2556). การสำรวจปัญหาและความต้องการพัฒนาทักษะการฟัง-การพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับเรือโดยสาร บริเวณหาดอ่าวนาง จ.กระบี่. (ศิลปศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา.

ภัชญาภา ทองใส และคมสิทธิ์ สิทธิประการ. (2562). ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจเพื่อการท่องเที่ยวท้องถิ่นอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 17(3), 129-136.

สิริทิพย์ ฉลอง. (2562). Industry Update. หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจภาคบริการ ส่วนเศรษฐกิจรายสาขา. ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2557). 7). ภาษาอังกฤษคือภาษาที่ใช้ทำงานของอาเซียน. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 7, 2563, จาก http://www.tesol.org/convention2014/featured-speakers

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). โครงสร้างธุรกิจ SME. ค้นเมื่อ มิถุนายน 14, 2563, จาก https://www.sme.go.th/th/page.php?modulekey=4