ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ชนิกานต์ ใสยเกื้อ
ธารินี จริยาปยุกต์เลิศ
จุมพล หนิมพานิช

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เพื่อเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการกล่อมเกลาทางการเมือง (3) เพื่อหาข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ
จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่วิจัย คือ ผู้นำชุมชน ซึ่งได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t–test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F–test (One -Way ANOVA) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ


          ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.21) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่วางไว้ (2) เปรียบเทียบความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยการกล่อมเกลาทางการเมืองพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา ระยะเวลาที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่างกัน มีระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่วางไว้ โดยรายได้เฉลี่ยต่อเดือน, ตำแหน่งในชุมชน และปัจจัยกล่อมเกลาทางการเมืองที่ต่างกัน มีระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่วางไว้
(3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสร้างหลักสูตรอบรมระยะสั้นต้นแบบสำหรับผู้นำชุมชน

Article Details

How to Cite
[1]
ใสยเกื้อ ช., จริยาปยุกต์เลิศ ธ., และ หนิมพานิช จ., “ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของผู้นำชุมชนในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 20–35, พ.ค. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กานท์กลอน รักธรรม. (2560). ผลวิจัยชี้ประชาธิปไตยทั่วโลก. ค้นเมื่อ กันยายน 9, 2561, จาก https://Themomentum.

นันทิยา ดวงภูมิเมศล และคณะ. (2559). ประชาธิปไตยในวิถีไทยความเข้าใจเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่สังคมสุขภาวะ. นครปฐม: ศูนย์ภารตะศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยมหิดล.

นริศ จันทวรรณ. (2560). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย:กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง. วารสารวิชาการ, 7 (1), 103–113

ปรมต วรรณบวร และคณะ. (2560). ความเป็นพลเมืองเพื่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น. มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6 (2), 85-100

ปรานี ชารี และวิยุทธ์ จำรัสพันธ์. (2556). ความเป็นพลเมืองของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองม่วง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชศรีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มานิตตา ชาญไชย. (2559). ความเป็นพลเมืองกับการบริหารจัดการตนเองของชุมชนไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 59 (1), 78-95

วุฒิสาร ตันไชย และคณะ. (2559). ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.