การจัดการเรียนการสอนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง “พุทธศาสนสุภาษิต” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์)

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
นฌล จำปาเทศ
สุวรรณา ชูชัย
คณิตฎา ฮวบเอม
สริตา สุทธิศักดิ์ศรี

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ  1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง “พุทธศาสนสุภาษิต” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์) ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์) ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งหมด 12 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินคุณภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง “พุทธศาสนสุภาษิต” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์) ที่สร้างขึ้นมานั้น มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เรื่อง “พุทธศาสนสุภาษิต” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  พบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่โดยรวมแล้วนักเรียนพึงพอใจ มากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย  ดังนี้ ลำดับที่1 คือ ด้านเนื้อหามีความเหมาะสมกับผู้เรียน และด้านเนื้อหามีความชัดเจนเข้าใจง่าย ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 5.00, S.D. = 0)  ลำดับที่ 2 คือ ด้านมีการยกตัวอย่างประกอบ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
( gif.latex?\bar{x}= 4.92, S.D. = 0.28) ลำดับที่ 3 คือ ด้านรูปแบบนวัตกรรมมีความน่าสนใจ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.83, S.D. = 0.37) ลำดับที่ 4 คือ ด้านมีความแปลกใหม่ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเรื่อง “พุทธสุภาษิต” มากขึ้น ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.33, S.D. = 0.75) ลำดับที่ 5 คือ ด้านผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.25, S.D. = 0.72) โดยรวมค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) รวมทุกด้าน เท่ากับ 4.71 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) รวมทุกด้านเท่ากับ 0.34

Article Details

How to Cite
[1]
วรพงศ์พัชร์ ณ., จำปาเทศ น. ., ชูชัย ส. ., ฮวบเอม ค. ., และ สุทธิศักดิ์ศรี ส. ., “การจัดการเรียนการสอนผ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง ‘พุทธศาสนสุภาษิต’ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดท่าคอย(สกุณอุปถัมภ์)”, ้่j of human, ปี 13, ฉบับที่ 1, น. 84–99, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

นนทบุรี

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม และศุภนิตา สุดสวาท. (2556). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์ เพื่อการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับครูในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2534). เทคโนโลยีใหม่ในงานการศึกษา. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัครเดช ศรีมณีพันธ์. (2547). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบสื่อประสม เรื่องการใช้

สื่อการสอน สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิรพันธ์ เดมะ. (2545). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยบริการ, 13(1), 5.

ชุติกาญจน์ ใจบางยาง. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้รูปแบบการสืบเสาะความรู้ (5E) เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงพร บูรณะพงศ์. (2560). ผลการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. รายงานการวิจัย. โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8.

ทัศนกร สมใจหวัง และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2558). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ต เรื่อง ความรู้สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

ธนภรณ์ นนตะแสน, ประยูร บุญใช้ และณรงค์ศักดิ์ พรมวัง. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิชาการ หลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุปผาชาติ ทัฬหิกรณ์. (2540). เครือข่ายใยแมงมุมโลกในโลกของการศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 11(3), 18.

พจนา ศรีกระจ่าง. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 9(1), 154-165.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.

ไพฑูรย์ ศรีฟูา. (2550). E-Book หนังสือพูดได้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์.

มนตรี แย้มกสิกร. (2550). เกณฑ์ประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(1), 5.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับบราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นามมีบุคส์

พับลิเคชั่นส์.

สุภาวดี พุทธศร. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาความสามารถในการ

อ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง. วารสารการประชุมวิชาการและเสนอผลานวิจัยระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา.

เสาวลักษณ์ ญาณสมบัติ. (2545). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นวัตกรรมการสอนที่

ยึดผู้เรียน เป็นสำคัญ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Malathi Letchumanan. Rohani Ahmad Tarmizi. (2010). อ้างใน วนรรษนันท์ เอียดตัน.

การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาฟิสิกส์ เรื่อง คลื่นกล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 5. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.