การเล่าเรื่องข้ามสื่อ: นวัตกรรมเชิงเนื้อหา กรณีศึกษาภาคธุรกิจและประชาสังคมที่ประสบความสำเร็จ

Main Article Content

ชนิดา รอดหยู่
ทยา เตชะเสน์
ยศยง เซ็นภักดี

บทคัดย่อ

การเล่าเรื่องข้ามสื่อ เป็นนวัตกรรมเชิงเนื้อหาของสื่อมวลชน ที่เกิดจากอิทธิพลและผลกระทบด้านเทคโนโลยีสื่อใหม่ ที่ส่งผลต่อภูมิทัศน์สื่อในปัจจุบัน หลักการที่สำคัญที่สุดของการเล่าเรื่องข้ามสื่อคือ การสร้างความผูกพันร่วม ของเรื่องเล่าหรือเนื้อหากับกลุ่มผู้รับสารให้มากที่สุด โดยอาศัยการขยายเรื่องเล่าอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ในลักษณะคล้ายการต่อจิ๊กซอว์เพื่อขยายภาพหรือการรับรู้ของผู้รับสารให้สมบูรณ์ภายใต้โลกแห่งเรื่องเล่านั้น ปัจจุบันผู้ผลิตสื่อได้นำแนวทางการเล่าเรื่องข้ามสื่อมาใช้เพื่อการขยายอาณาจักรของเรื่องเล่าผ่านสื่อที่หลากหลาย ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้ 1) ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars  ที่สามารถขยายอาณาจักรเรื่องเล่าไปในนวนิยาย การ์ตูนแอนนิเมชั่น เกมส์ และ ทีวีซีรี่ย์ 2) บริษัทของเล่น LEGO ที่สามารถใช้การเล่าเรื่องข้ามสื่อ พลิกวิกฤตด้านความนิยมของเล่นประเภทตัวต่อ โดยการเล่าเรื่องของแบรนด์สินค้า ข้ามสื่อได้สำเร็จ 3) คอลัมน์ Diagnosis ในนิตยสารนิวยอร์กไทม์ออนไลน์ ที่ได้รับการขยายเรื่องเล่าผ่านซีรี่ย์และฉายบน Netflix 4) ไดอะรี่ตุ๊ดซี่ส์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการเขียนไดอะรี่ “บันทึกของตุ๊ด” ลงในเฟซบุ๊ก และได้รับความสนใจจนถูกนำมาขยายเรื่องเล่าออกไปในสื่ออื่น ๆ จนได้รับความนิยมอย่างสูง 5) สถานีโทรทัศน์ Channel 4 ประเทศอังกฤษ ทีใช้การสื่อสารข้ามสื่อในประเด็นสาธารณะเกี่ยวกับการทิ้งปลาเล็กที่ไม่ได้ขนาดกลับลงไปในทะเล ผ่านรายการสารคดี “Hugh's Fish Fight” ซึ่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ในทะเล  และ 6) การรณรงค์คัดค้านเขื่อนแม่วงก์ โดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมในวาระการสร้างเขื่อนแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์กับสาธารณะ

Article Details

How to Cite
[1]
รอดหยู่ ช., เตชะเสน์ ท., และ เซ็นภักดี ย., “การเล่าเรื่องข้ามสื่อ: นวัตกรรมเชิงเนื้อหา กรณีศึกษาภาคธุรกิจและประชาสังคมที่ประสบความสำเร็จ”, ้่j of human, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 40–59, ธ.ค. 2022.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

Jenkins, H. (2009). The Revenge of the Origami Unicorn: Seven Principles of Transmedia Storytelling. Retrieved from http://henryjenkins.org /2009/12/ the_revenge_of_the_origami_uni.html.

. (2011). Transmedia 202: Future Reflections. Retrieved from http://henryjenkins.org/2011/08/defining_transmedia_further_re.html.

Munyat, A. (2017). Transmedia Storytelling and Building Engagement in Communicating Social Issue (doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)

Pratten, R. (2016). Transmedia Storytelling: Getting Started. Retrieved from http://workbookproject.com/culturehacker/.

Sakunsri, S. (2018). Development of Content Innovation with Cross-media Content Strategy For Television Program. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 12 (1), 193 – 225. (In Thai)

Stackelberg, P. v., (2011). Creating Transmedia Narrative: The Structure and Design of Stories Told Across Multiple Media. Master’s thesis (School of Information Design Technology), USA: University of New York Institute of Technology.

Tangam, T. (2559). Transmedia Storytelling in Digital age. In case of “Diary Tootsies”JCE-Journal, 1 (1), Retrieved from http://203.131.210.100/ejournal/wp-content/ uploads/2016/ 09/ JCIS5 9061. pdf. (In Thai)

Thompson, B. (2010). Towards a Definition of Transmedia. Retrieved from http://www.giant-mice.com/ archives/2010/04/towards-a-definitionoftransmedia/.

Time, C. (2015). Transmedia: story-telling. Journal of Communication and Innovation NIDA, 2 (1), 59 - 88. (In Thai)