การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพ แบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุ

Main Article Content

พิมพ์ญาณินท์ พัฒน์แฟง
ลัญจกร นิลกาญจน์
กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริบทชมรมผู้สูงอายุและการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้สูงอายุในชมรม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุ และ 3) การประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อนำมาถอดบทเรียนเพื่อค้นหารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ผู้วิจัยได้ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมในชมรมญาติธรรมบำเพ็ญประโยชน์ ชุมชนคุณธรรม วัดพรหมโลก ซึ่งผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติข้างต้นเป็นจำนวน 10 คน


ผลการศึกษาพบว่า


  1. สภาพบริบทชมรมผู้สูงอายุและการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้สูงอายุในชมรม พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-70 ปี สามารถเข้าถึงแหล่งพลังอำนาจได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวัดเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ การทำกิจกรรม โดยผู้สูงอายุมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกำหนดทิศทางและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีพลังอำนาจในตัวเองในการที่จะสามารถดูแลตนเองได้ เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของสังคมในการขับเคลื่อนและพัฒนาสังคม ชุมชนให้ดียิ่งขึ้นได้

  2. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า บริบทของพื้นที่ชมรมญาติธรรมบำเพ็ญประโยชน์ ชุมชนคุณธรรม วัดพรหมโลก การเสริมสร้างพลังอำนาจในชมรม การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุจนนำมาสู่ “PHROMLOK MODEL” มีองค์ประกอบย่อย 8 ประการคือ 1) ตัวบุคคล 2) การเสริมสร้างสุขภาพ 3) ศาสนา 4)โอกาสของการเรียนรู้ 5) การจัดการ 6) การเรียนรู้ 7) มองโลกในแง่ดี และ 8) ความรู้

  3. ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุได้ผ่านการประเมินในระดับที่เป็นต้นแบบ และสามารถเผยแพร่ไปยังชมรมผู้สูงอายุอื่น ๆ ได้

Article Details

How to Cite
[1]
พัฒน์แฟง พ. ., นิลกาญจน์ ล., และ แซ่แง่ สายจันทร์ ก. ., “การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อดูแลสุขภาพ แบบองค์รวมด้วยตนเองของผู้สูงอายุ”, ้่j of human, ปี 12, ฉบับที่ 2, น. 19–39, ต.ค. 2022.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552. สืบค้นจาก

https://www.dop.go.th/download/laws/law_th_20_1.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552. สืบค้นจาก

https://www.dop.go.th/download/laws/regulation_th_42_1.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นจาก

http://www.dop.go.th/th/know/1/275

เกษมศรี สุรวิทย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรของชมรมผู้สูงอายุตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(ฉบับพิเศษ), 435-448.

ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์คร้ังท่ี 7. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้ง.

รัชนีกร เหิดขุนทด และ พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. (2562). การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพตนเองโดยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ บ้านมาบกราด ตำบลพันชนะ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2562. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรค.

สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. (2563). คู่มือชมรมผู้สูงอายุ, 4-7.

Kanter, R. M. (1977). Men and Women of the Corporation. New York: Basic Books.

Pender, N.J. (1987). Health promotion in Nursing Paractice. 2nd ed. Stamford, CT : Appleton & Lange.