การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของ “แบบเรียนเพลงพื้นบ้านภาคใต้สำหรับกีตาร์คลาสสิก” ในรายวิชากีตาร์คลาสสิก ของนักศึกษาสาขาดนตรีศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ทยา เตชะเสน์
ชนิดา รอดหยู่
ปมนวัฒน์ สามสี
ปิยะรัตน์ ธรรมรงรัตน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบเรียนเพลงพื้นบ้าน สำหรับกีตาร์คลาสสิก 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบเรียนเพลงพื้นบ้านในรายวิชากีตาร์คลาสสิก โดยวิธีการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มทดลองคือนักศึกษาสาขาดนตรีศึกษา เครื่องเอกกีตาร์คลาสสิก ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยการวิจัยเชิงทดลอง ทดสอบก่อนหลัง (One Group Pretest – Posttest Design)  ด้วยการทดลอง 3 ช่วง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบเรียนเพลงพื้นบ้านคลาสสิก
2) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความสามารถทักษะการบรรเลง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่าแบบเรียนเพลงพื้นบ้านสำหรับกีตาร์คลาสสิกมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 83.21/87.52 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.73 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะจากแบบเรียนเพลงพื้นบ้าน สำหรับกีตาร์คลาสสิก หลังจากการเรียนการสอนโดยใช้แบบเรียน โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 78.83 คะแนน ด้านทักษะการปฏิบัติกีตาร์ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 80.87 และมีคะแนนเฉลี่ยรวมของ ทั้ง 2 ด้าน คิดเป็นร้อยละ 80.00

Article Details

How to Cite
[1]
เตชะเสน์ ท., รอดหยู่ ช. ., สามสี ป., และ ธรรมรงรัตน์ ป. ., “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของ ‘แบบเรียนเพลงพื้นบ้านภาคใต้สำหรับกีตาร์คลาสสิก’ ในรายวิชากีตาร์คลาสสิก ของนักศึกษาสาขาดนตรีศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 12, ฉบับที่ 1, น. 110–119, มิ.ย. 2022.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กฤษฎา วงศ์คําจันทร์. (2551). ชุดการสอนการปฏิบัติกีตาร์ใน วิชาทักษะดนตรี 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรี). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีทางการศึกษาทฤษฎี และการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

จิรภัทร์ ถิ่นทะเลและ สิชฌน์เศก. (2021). ย่านเดิมการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโสตทักษะ

ทางดนตรีด้วยชุดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรี ตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนขับร้องประสานเสียง โรงเรียนเปรมประชาวัฒนา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

นัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2551). แบบเรียนเทคนิคการออกเสียงของการบรรเลงเปียโน

Artirculation: Legato, Staccato, Legato-Staccato สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 7-11 ปี. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

Steve Krenz. (2010). Gibson's Learn and Master Guitar. Nashville: Legacy Learning Systems, Inc. pandemic. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE), 9(4), 881–886.