ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร

Main Article Content

สุรางค์ บุญยะพงศ์ไชย

บทคัดย่อ

เนื่องจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสังคมต่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงทำให้ผู้บริหารควรทราบถึงระดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อสามารถนำไปสู่การปรับปรุงการบริหารงานบุคคลและใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน  วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ได้ประยุกต์มาจากการพัฒนาของ Certo, Samuel C. (2000)   และ Woodcock (1994) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร พนักงานบริษัท พนักงานสถาบันการเงิน เจ้าของกิจการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลาง มีพนักงาน จำนวน 50 – 200 คน จำนวน 6 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 250 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างได้ใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า


(1) ปัจจัยด้านระบบขององค์การ กล่าวคือ การจัดระบบการทำงานที่ชัดเจน การมีนโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ การมีกรอบและแนวทางปฏิบัติงาน เป็นต้น จะมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นลำดับที่หนึ่ง รองลงมา คือ ด้านโครงสร้าง ได้แก่ องค์การมีการจัดแบ่งตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน และส่วนในด้านกลยุทธ์ ได้แก่ องค์การที่มีทีมบริหารที่แข็งแกร่ง มีความสามารถสูง สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ตามลำดับ   (2)  ปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน พบว่า ด้านความรับผิดชอบในงาน ได้แก่ การปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเวลาและปริมาณงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย และด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ได้แก่ ตำแหน่งที่ปฏิบัติอยู่สามารถสร้างผลงานเพื่อเลื่อนตำแหน่งได้ จะมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นลำดับแรก   (3)  ปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพขององค์การ พบว่า ด้านการปกครองบังคับบัญชา ได้แก่ ผู้บังคับบัญชามีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นลำดับแรก  ซึ่งรองลงมาคือ ด้านนโยบายการบริหารขององค์การ ได้แก่ องค์การมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการปฏิบัติงานชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ ในส่วนด้านสถานภาพในการทำงาน ได้แก่ การได้รับวัสดุอุปกรณ์ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม ตามลำดับ กล่าวคือสามารถนำผลงานวิจัยไปปรับหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การของตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ อีกทั้ง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อย่อยหรือข้อคำถามของแบบสอบถาม องค์การหรือหน่วยงานสามารถนำข้อย่อยต่าง ๆ มาร่วมเป็นตัวแปรหนึ่งในการสร้างแผนหรือกลยุทธ์เพื่อให้องค์การหรือหน่วยงานบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งการนำไปปรับใช้เพื่อดึงความสามารถที่แท้จริงของบุคลากร และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในปรับหรือพัฒนาให้สูงสุดต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
บุญยะพงศ์ไชย ส., “ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร: ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร”, ้่j of human, ปี 12, ฉบับที่ 1, น. 64–90, มิ.ย. 2022.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมธี ไพรชิต. (2556). การหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท สุธานี จำกัด. ใน วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

รักษ์ศักดิ์ บุญสิทธิ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วิไลวรรณ อิศรเดช และ พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร.(2020). การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology Vol.5 No.4 (April มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สันติภพ วงศ์ศิริ.(2551). แนวทางการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน:บริษัท สยามกลาสอินดัสทรี จํากัด. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์

อุทัสน์ วีระศักดิ์การุณย์. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความต้องการในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

Certo, Samuel C. (2000). Modern Management. New Jersey: Pretice-Hall.

Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management.

Homewood, llinois: Richard D. Irwin.

Harring Emerson Harrington Emerson. (1992). The Twelve Principles of Efficiency. New York: The. Engineering Magazine

Vroom , H. V., & L. Edward Deci. (1997). Management and motivation. New York:

Penguin Book.

Woodcock, M. & Francis, D. (1994). Teambuilding Strategy. 2nded. Cambridge :

Cambridge University Press.