ผลของการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมออนไลน์ เรื่อง ระบำโบราณคดี

Main Article Content

ทองพูล มุขรักษ์

บทคัดย่อ

บทความครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมออนไลน์เรื่อง ระบำโบราณคดี โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยเครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 19 คน คัดเลือกแบบเจาะจงและใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและนำเสนอข้อค้นพบโดยพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า
ผลของการจัดการเรียนการสอนการสอนเป็นการสร้างแรงบันดาลใจจากชุดกิจกรรมทั้งในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในการเรียนรู้ร่วมกัน มีวินัยและความรับผิดชอบในการศึกษาด้วยตนเอง โดยการบริหารจัดการกิจกรรมได้อย่างสะดวก รวดเร็วและเรียนรู้ได้พร้อม ๆ กัน ภายใต้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ระบบเครือข่ายมีความเสถียร รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูล เพื่อก่อเกิดประโยชน์ที่เท่าเทียม ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และสอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Article Details

How to Cite
[1]
มุขรักษ์ ท., “ผลของการจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมออนไลน์ เรื่อง ระบำโบราณคดี”, ้่j of human, ปี 12, ฉบับที่ 1, น. 16–28, เม.ย. 2022.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). นครศรีธรรมราช : คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ชนันท์ธิดา ประพิณ, กอบสุข คงมนัส, ช่อบุญ จิรานุภาพ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 30-47.

ทรงลักษณ์ สกุลวิจิตร์สินธุ. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันทางออนไลน์. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 437-450.

นิธิดา แสงสิงแก้ว. (2561). จับทิศทางการสื่อสารเรื่องการเรียนรู้สำหรับเด็กศตวรรษที่ 21 ในโลกออนไลน์. วารสารศาสตร์, 11(2), 161-199.

ประทีป พืชทองหลาง, ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และอาภากร ปัญโญ. (2561). การสร้างระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วย QR Code ในรายวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 9(1), 1-16.

ปรีชา คำมาดี และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). กระบวนการต่อรองระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ผ่านสื่อออนไลน์ : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 110-118.

ปรีดิ์เปรม ชัยกิจ และธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2561). การจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อสังคมออนไลน์ ของบริษัท

ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 11(1), 121-139.

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(4), 357-365.

ยศธร ทวีพล, ศิริพร แย้มนิล, กมลพร สอนศรี และนภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ. (2560). การจัดการทุนมนุษย์ยุคสื่อสังคมออนไลน์. Journal of HR intelligence, 12(2), 64-79.

วรรณวิชนี ถนอมชาติ, อุทัย อันพิมพ์ และจำเนียร จวงตระกูล. (2563). การนำเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), 1-13.

อนุวัฒน์ สุวรรณมาตย์. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 93-107.

Ritchie, J. and Lewis, J. (2003). Qualitative Research Practice. London : Sage.