หลักการโอเคอาร์ (OKR) กับการบูรณาการการทำงานเพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรภาครัฐ กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การนำหลักการ OKR (Objectives and Key Results) หรือ“วัตถุประสงค์และผลลัพธ์สำคัญ” มาประยุกต์ใช้ในองค์กรเป็นการพัฒนากระบวนการทำงานที่อาศัยความร่วมมือของผู้ปฏิบัติติงานในทุกระดับชั้นในการคิดวางเป้าหมายการทำงาน สร้างสรรค์กระบวนการทำงาน เพื่อให้เกิดผลการทำงานที่ประสบผลสำเร็จในระยะสั้น หลักการโอเคอาร์ (OKR) เป็นกระแสใหม่ของการนำมาใช้วางแผนการดำเนินงานขององค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานเอกชน
บทความนี้มุ่งนำเสนอการบูรณาการหลักการโอเคอาร์ (OKR) กับการพัฒนาการทำงานขององค์กรภาครัฐ โดยจัดปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาสังคม โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จตามหลักการโอเคอาร์เพื่อหนุนเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจภูธรทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีกระบวนการศึกษาข้อปัญหาในการทำงาน การร่วมพัฒนาหลักการโอเคอาร์ (OKR) เพื่อแก้ไขและเสริมศักยภาพในการทำงาน และทดลองใช้หลักการโอเคอาร์ (OKR) ที่สร้างขึ้น
ผลการปฏิบัติการประเมินด้วยการทำแบบสอบถาม พบว่า 1. ด้านความเหมาะสม เห็นว่าการนำมาใช้หลักการโอเคอาร์เป็นหลักการที่ดี มีประสิทธิภาพสูง มีความน่าสนใจ และเหมาะสมในการบูรณาการกับการทำงานในปัจจุบัน 2. ด้านการดำเนินกิจกรรม ควรจัดอบรมกับเจ้าหน้าที่ทุกคนภายในในองค์กร และความมีระยะเวลาการดำเนินงานต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และควรเพิ่มหลักสูตรต่อเนื่องที่มีระดับความรู้และทักษะที่สูงขึ้น 3. ด้านข้อปัญหา พบว่าการนำหลักการโอเคอาร์ (OKR) ไปใช้ในอนาคตจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างหน้าที่ในองค์กร การมอบหมายงานที่ชัดเจน ความร่วมมือระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานและดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI - Key Performance Indicator)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
เกศินี ประทุมสุวรรณ. (2562) “การประยุกต์ใช้แนวคิด OKR กับโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ” วารสารรามคําแหง
ฉบับมนุษยศาสตร์. ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม): 111-128.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2546). การคิดเชิงบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
ดัวร์, จอห์น. (2562). ตั้งเป้าชัด วัดผลได้ด้วย OKR. แปลโดย ดไนยา ตั้งอุทัยสุข. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นภดล ร่มโพธิ์. (2559). การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภดล ร่วมโพธิ์. (2564, 10 พฤศจิกายน 2564). OKR กับการบริหารโรงเรียน.
https://storylog.co/category/knowledge
นันท์นัทธฉัตร ศรีวิเศษ. (2558). “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครูใน
สถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2”. การ ค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, สวพร บุญญผลานันท์ และเกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2562). “การบริหารงานวิชาการ
ในสถานศึกษาตามแนว OBJECTIVES & KEY RESULTS (OKR). วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม): 258-272.
อำนวยวิทย์ ชูวงษ์. (2564, 13 พฤศจิกายน 2564). แนวทางศึกษาสังคมวิทยาตามทฤษฎีของสร้างและหน้าที่.
ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย. http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/6bc7decf15d25fdef8f905f93fd64388
Doerr, J. (1999). Measure what matters. London: Penguin.
Gurbuz, S., & Dikmenli, O. (2007). Performance appraisal in public organizations: An empirical
study. Magazine of Management Practice, 13(1): 108–138.
Niven, P.R. and Lamorte, B. (2016). Objectives and Key Results: Driving Focus, Alignment,
and Engagement with OKR. New Jersey: John Wiley & Sons.
Radonic, M. (2017). “OKR system as the reference for personal and organizational objectives”.
Econophysics, Sociophysics & Other Multidisciplinary Sciences Journal, 7(2): 28–37.
Wodtke, C. (2016). Radical focus: Achieving your most important goals with objectives and
key results. Oklahoma City: Cucina Media.