การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ สู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราข เขต 2 ปีการศึกษา 2562 มีจุดประสงค์เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้ ในประเด็นบริบทปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิบป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 110 คน ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน 4 คน ครูผู้สอน 20 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบตรวจผลงานและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่าประเด็นการประเมินทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์ การประเมินทั้งหมด คือ 1) ผลการประเมินประเด็นบริบทพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดทั้ง
2 ตัวชี้วัด คือ สนองตอบความต้องการครูโรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้และความคาดหวังของครูและผู้บริหารอยู่ในระดับมาก 2)ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า พบว่าอยู่ในระดับมากและผลของตัวชี้วัดทั้ง 6 ตัวชี้วัด มีดังนี้ ความเหมาะสมของงบประมาณอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมของระยะเวลาอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมของกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ความพร้อมของสื่อ เอกสารอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมของวิทยากร/ผู้นิเทศ อยู่ในระดับมาก 3)ผลการประเมินประเด็นกระบวนการดำเนินโครงการ พบว่าอยู่ในระดับมากและผลตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด การปฏิบัติตามขั้นตอนตามแผนอยู่ในระดับมาก การประสานงานภายในโครงการอยู่ในระดับมาก การกำกับติดตามประเมินผลอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่าอยู่ในระดับมากและผลของตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้การปฏิบัติงานของครูตามวัตถุประสงค์ของโครงการอยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนการ สอนของครูอยู่ในระดับมาก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการประเมินตัวชี้วัดและประเด็นการประเมินดังกล่าว ทำให้ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
กรมอนามัย. คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสำหรับโรงเรียน (ฉบับปรับปรุง).
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2546.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2530). งานบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2541). การนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
จักรกฤช ยมหา. (2542). รายงานผลดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนวัดนายายอาม สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การเขียนรายงานการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พรอพเพอร์ตี้
พริ้นท์ จำกัด.
วิชิต กำมันตะคุณ. (2540). สมรรถภาพทางการนิเทศของผู้บริหารตามการรับรู้ของตนเองและ
ครูใน โรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. สำนักงาน(2540). การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ
การประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน.(2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุรวิช แก้วอำไพ. (2544). ภาวะผู้นำทางการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดมูลนิธิ
แห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
อรรณพ พงษ์วาท. (2539. จากแผนพัฒนาคนสู่แผนพัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานโครงการ
พิเศษเพื่อปฎิรูปการฝึกหัดครู พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (สปค.) สปช.
Dew, D.R. (1993). Dissertation Abstracts Internation. U.S.A. : Allyn and Bacon.
William, Francine Foster. (1994). Behavioral Changes: An Ethnograpgy of Elementary School Personal. Dissertation Abstracts International. 54(7) : 2425 – A.