กลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ณชจันทร์ ภูริวรางคกูล

บทคัดย่อ

ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทยและยังมีความเชื่อมโยงไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ แต่ในปัจจุบันเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเงินซบเซาและวิกฤติการณ์ โควิด 19 ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์จำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงรายซึ่งในปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ทั้งนี้จึงต้องอาศัยกลยุทธ์หลักในการแก้ไขปัญหาเพื่อผลักดันให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เดินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย มีด้วยกัน 2 กลยุทธ์คือ กลยุทธ์ที่ 1 คือกลยุทธ์การปรับตัว และกลยุทธ์ที่  2  กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทั้ง 2 กลยุทธ์มี 4 ประเด็นการพัฒนาดังนี้ ประเด็นการพัฒนาที่ 1 ด้านผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ ประเด็นการพัฒนา ที่ 2 ด้านราคา ส่วนประสมทางการตลาด ประเด็นการพัฒนาที่ 3 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย  ประเด็นการพัฒนาที่ 4 ด้านภาพลักษณ์

Article Details

How to Cite
[1]
ภูริวรางคกูล ณ., “กลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย”, ้่j of human, ปี 11, ฉบับที่ 1, น. 65–77, ก.ย. 2021.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ชนิศา สมศักดิ์. (2558). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจบ้านจัดสรร
จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นภัสพร จันทวงษ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดใน
เขตกรุงเทพมหานคร. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พีรญา พงษ์ปรสุวรรณ์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนของกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์การบริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (OSS).เขตเศรษฐกิจพิเศษ.ออนไลน์ จาก https://crsez-oss.com. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564
สมบูรณ์ หวังโชคดำรง. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภท
อาคารชุด หลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ.เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.(2564).เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย.
ออนไลน์ จาก http://rs.mfu.ac.th/obels/?p=1844 สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2564.
อภิญญา เสมเสริมบุญ. (2549). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อ กรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
อาชวิศร์ มาลัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขายทอดตลาดของ
ลูกค้าของบริษัทบริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด สาขาเชียงใหม่. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.



Restmetalk.(2564).เน็กซัสชี้ ตลาดอสังหากรุงเทพฯปรับตัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี ทั้งตลาดที่อยู่อาศัย
และตลาดพื้นที่พาณิชยกรรมแนะผู้ประกอบการต้องคิดแบบใหม่เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป เผยธุรกิจให้เช่าพื้นที่เพื่อทำ Data Center จะเป็นธุรกิจอนาคตที่มาแรง.ออนไลน์. http://www.restmetalk.com/17260687/nexus-property-market.เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2564.