เศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนบ้านบะหัวเมย ตำบลบะฮี อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ขวัญเดือน วงค์แก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิถีชีวิต และรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนบ้านบะหัวเมย ตำบลบะฮี อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาปัจจัยส่งเสริม เศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนบ้านบะหัวเมย ตำบลบะฮี อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยหลักการสัมภาษณ์ การสังเกต และการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมกลุ่ม การเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแบบพรรณนาวิเคราะห์


      ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ศึกษาวิถีชีวิต และรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนบ้าน        บะหัวเมย พบว่า เป็นชุมชนที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตนเอง ตามแบบกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท          มีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย มีความพอเพียง เชื่อถือ เคารพ ศรัทธาในเรื่องภูตผีบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามธรรมชาติ มีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรำผีเชื่อ ลักษณะทางสังคมเป็นกลุ่มชนที่มีความขยันอดทน อดออม และประหยัดเป็นพิเศษ มีความรักใคร่ ผูกพันกันทุกคนเป็นเสมือนเครือญาติเดียวกัน ใช้ภาษาภูไทเป็นภาษาพูดไม่ปรากฏว่ามีภาษาเขียน และมีรูปแบบในการดำเนินชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนคือ 1.1 การสืบค้นทุนชุมชน โดยผู้นำชุมชน และแกนนำหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้านจัดทำแผนแม่บทชุมชน สำรวจข้อมูลที่เป็นทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัฒนธรรม    ทุนทางภูมิปัญญา แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 1.2 การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน  มีความร่วมมือร่วมแรง เสียสละทั้งแรงกายใจในการจัดทำกิจกรรมทั้งส่วนตนและชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของชุมชน และพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้รอด พอเพียง และยั่งยืน 1.3 การจัดการแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ได้มีการจัดหาแหล่งเรียนรู้ ทั้งทรัพยากรป่าชุมชน แหล่งน้ำ ช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เช่น สวนเกษตรผสมผสาน ศูนย์ทอผ้าไหมแพรวา ผ้าย้อมคราม ศูนย์วิสาหกิจชุมชน โดยมีครูภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นผู้นำ 2. ปัจจัยส่งเสริม เศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนบ้านบะหัวเมย มีปัจจัยที่สำคัญหลัก ๆ คือ 2.1 ผู้นำชุมชน 2.2 กระบวนการเรียนรู้ 2.3 องค์กรภาครัฐและเอกชน พบว่า ผู้นำเป็นผู้มีบทบาท ที่สำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เป็นตัวแทนในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ผู้นำชุมชนมีความรู้ ความสามารถ และมีจิตอาสาทำเพื่อส่วนรวม ส่งผลอย่างมากต่อการพัฒนาหมู่บ้าน กระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน หัวใจสำคัญของการฟื้นฟูท้องถิ่นชุมชน อยู่ที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ เอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง จะทำให้เกิดการฟื้นฟูความภาคภูมิใจ ศักดิ์ศรี และความมั่นใจที่จะตัดสินใจ และเลือกทางเดินของตนได้ จึงมีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และฐานเรียนรู้จำนวน 6 ฐาน มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสาธิตการประกอบอาชีพเพื่อเป็นแหล่งดูงาน และแหล่งการประกอบอาชีพเสริมสำหรับคนในชุมชน มีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนา อาทิ ข้อมูลด้านสาธารณสุข ข้อมูลด้านการเกษตร ข้อมูลปศุสัตว์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาสรุปในที่ประชุมประชาคมหมู่บ้าน และบันทึกไว้เป็นข้อมูลประจำหมู่บ้านเพื่อใช้ในการประกอบจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน มีการรวบรวมและเรียนรู้จากภูมิปัญญาดั้งเดิมของหมู่บ้าน มีการสืบทอดและนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และวิทยาการสมัยใหม่ ส่วนองค์กรภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาสนับสนุนหลายหน่วยงาน เช่น เกษตรจังหวัดสกลนคร พัฒนาชุมชนสำนักงานจังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และบริษัทเอกชน มีกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ระดับกลุ่ม/เครือข่าย เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเอง

Article Details

How to Cite
[1]
วงค์แก้ว ข., “เศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือนบ้านบะหัวเมย ตำบลบะฮี อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 2, น. 21–36, ก.พ. 2021.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนา ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาค
การเกษตรและชนบท. (2544) “เศรษฐกิจพอเพียง: ข้อเสนอสู่การปฏิบัติ” ใน มิติทาง
วัฒนธรรมในยุคเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สถาบันวิจัยสังคม. (2559). ชนบทไทย, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี พงศ์พิศ. (2555). ร้อยคำที่ควรรู้. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.
สุพัฒน์ ไพใหล. (2555). กระบวนทัศน์พัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองของเครือข่ายอินแปงในจังหวัด
สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). จากปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง สู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพชรรุ่งการพิมพ์จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). เรียนรู้หลักการทรงงาน
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพชรรุ่งการพิมพ์จำกัด.
เอื้องทิพย์ เกตุกราย. (2551) การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของ
ประชาชน ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี .
มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร/กรุงเทพฯ.