การดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่มเครือข่ายร้านสุพจน์สินค้ามือสอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมของกลุ่มเครือข่ายร้าน สุพจน์สินค้ามือสอง และเพื่อศึกษาการช่วยส่งเสริมให้เกิดธุรกิจชุมชนของกลุ่มเครือข่ายร้านสุพจน์สินค้ามือสอง โดยมีการเก็บข้อมูลของร้านเครือข่ายสินค้ามือสองสามร้าน มีสมาชิกในครอบครัวและลูกจ้างทั้งหมดรวม 86 ราย ใช้แบบสอบถาม บัญชีครัวเรือนและบัญชีผลประกอบการของร้านในการเก็บข้อมมูล วิเคราะห์ข้อมมูลด้วย ค่าร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย สรุปผลการวิจัยด้วยการพรรณนาแบบเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายสุพจน์ร้านสินค้ามือสองมีผลประกอบการของทั้งสามร้านได้กำไรเฉลี่ยรวมร้อยละ 75.80 ร้านลักษณ์อาร์มมี่มีรายได้จากสินค้ามือสองเป็นรายได้หลักทดแทนรายได้จากการผลิตโอ่งที่มียอดการผลิตลดลง ส่วนร้านเบิร์ดอาร์มมี่รายได้จากสินค้ามือสองช่วยสนับสนุนการปลูกพืชไร่ที่มีผลผลิตไม่แน่นอนได้ จากผลประกอบการที่ดีของร้านสินค้ามือสองทั้งสามร้านทำให้คุณภาพชีวิตของทั้งสามครอบครัวดีขึ้นเมื่อมีรายได้ที่มั่นคง สามารถช่วยสนับสนุนและดูแลลูกจ้างในธุรกิจอื่นที่ทำอยู่ด้วยได้ โดยลูกจ้างไม่ถูกเลิกจ้างในช่วงโควิค-19
เครือข่ายสุพจน์ร้านสินค้ามือสองได้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจึงมีแนวคิดที่จะไม่แสวงหากำไรสูงสุด การขอเปิดร้านเครือข่ายสินค้ามือสองจะเรียกเก็บเพียงค้าสินค้าที่รับไปจัดจำหน่ายแต่ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอื่นเพิ่มแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอความรู้ เป็นต้น รวมทั้งได้ให้กลุ่มผู้ค้ารายย่อยสินค้ามือสองและดินบรรจุถุงรับสินค้าไปจัดจำหน่าย และเมื่อรวมกิจการทั้งหมด 7 กิจการ จึงช่วยทำให้เกิดการส่งเสริมธุรกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคามและนครราชสีมา นอกจากนี้สินค้ามือสองของเครือข่ายสุพจน์จำนวน 156,000 ชิ้นต่อปี ที่ถูกจำหน่ายออกไปได้ช่วยลดการเกิดขยะ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายร้านสุพจน์ทั้งหมดทุกกิจการได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคคิดเป็นเงิน 568,000 บาท ถึงแม้เครือข่ายร้านสุพจน์จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กแต่เมื่อธุรกิจมีผลประกอบการดีจึงอยากจะคืนกำไรให้สังคมเท่าที่จะมีกำลังทำได้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์
References
สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.
ชมพูนุช สกุลณวงษ์. (1557). การบริหารจัดการตลาดนัดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามือสองของ ผู้บริโภคในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทวีศักดิ์ รักการดี, & ทิพนครินทร์ คงประศุกร์. (2554). พฤติกรรมการบริโภคเสื้อมือสองของประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. งานวิจัยสัมมนาปัญหาทางธุรกิจ ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ปรียา ปรุงคำมา. (2554). คุณภาพชีวิตครอบครัวและความพึงพอใจต่ออาชีพเย็บผ้าโหล ตามการรับรู้ของสตรีเย็บผ้าโหล:กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปวีณา สินขาว. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทไทยน้ำทิพย์จำกัด จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภัชชาวดี ครุฑธา. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการประกอบอาชีพเสริมของพนักงานโรงพยาบาลรายบุรี. การศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สำนักข่าวบางกอกทูเดย์. (2562). ครบเครื่องเรื่องแบรนด์เนม สิ่งที่คนไทยต้องรู้ก่อนขาย. ค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 1562, จาก https://bangkok-today.com
สิดารัศมิ์ ระธารมณ์. (2557). การจดัการส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจเสื้อผ้ามือสอง ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
Mthai. (2557). เจาะธุรกิจเสื้อมือสอง ทุนไม่มีก็รวยได้. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2562, จาก https://news.mthai.com/webmaster-talk/376770.html