ทุเรียนกรุงชิงอนาคตไกลเกษตรไทยสู่ตลาดต่างแดน

Main Article Content

จรุ ถิ่นพระบาท

บทคัดย่อ

การส่งออกทุเรียนของไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากความต้องการการบริโภคทุเรียนในตลาดการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากตลาดนำเข้าของจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลต่อการปรับตัวของราคาทุเรียนทั้งในตลาดส่งออกและตลาดภายในประเทศของไทย ราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้สร้างแรงจูงใจต่อการขยายพื้นที่การเพาะปลูกและผลผลิตทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกสู่แหล่งผลิตใหม่ๆ เช่น กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้การเพิ่มขึ้นของอุปทานผลผลิตโดยรวมจะยังไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าว กระโดด แต่เป็นที่หวั่นเกรงกันว่าภายในทศวรรษหน้าการขยายตัวของผลผลิตทุเรียนจะมีมากขึ้น หากปัจจัยทางด้านอุปสงค์ทุเรียนในตลาดการค้าโลกมีข้อจำกัดเกิดขึ้นแล้วย่อมจะส่งผลกระทบต่อราคา ตลอดจนรายได้ของเกษตรกรตามมา ในบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิต กลยุทธ์การรับซื้อทุเรียน   การเข้ามาของพ่อค้าต่างชาติ “ล้งจีน”  มาตราฐานของโรงคัดบรรจุสินค้าเกษตร (Good Manufacturing Practices for packing House of Fresh Fruits and Vegetables : GMP) และเกษตรกรผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) เพื่อให้การผลิตและการส่งออกทุเรียนของเกษตรกรชาวสวนทุเรียนกรุงชิงมีคุณภาพสู่ตลาดการค้าทุเรียนทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศสามารถผลิตทุเรียนมีคุณภาพได้มาตรฐานการส่งออก รวมถึงได้เปรียบคู่แข่งขัน สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
[1]
ถิ่นพระบาท จ., “ทุเรียนกรุงชิงอนาคตไกลเกษตรไทยสู่ตลาดต่างแดน”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 2, น. 54–68, ก.พ. 2021.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

การจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออก (2563) กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร [Online].Available : http://www.ttmed.psu.ac.th/ [ 6 พฤศจิกายน 2563]
การบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่สำคัญ (2563) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช
[Online].Available :https://www.opsmoac.go.th/nakhonsithammarat-dwl-preview-421291791913
บดินทร์ ชาตะเวที. (2559). ทุเรียนราชาแห่งผลไม้ไทย. คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ Online]. Available : http://www.ttmed.psu.ac.th/ [ 5 พฤศจิกายน 2563]
ชินวัฒน์ ยัพวัฒนพันธ์. (2551). ทุเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรภาควิชาพืชสวน.ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุริยา ถิ่นพระบาท (2563,พฤศจิกายน 8) เกษตรกรตำบลกรุงชิง.สัมภาษณ์
TCIJ.(2563 ,พฤศจิกายน 4). ทุนจีนรุกคืบทำ ‘ล้งจีน’ บุกสวนผลไม้ไทย จี้รัฐ 'ล้อมคอก-ขันน็อต-ใช้กฎหมาย
[Online].Available : https://www.tcijthai.com/news/2016/08/scoop/6187

สมพร อิศวิลานนท์ (2561). สถานการณ์การผลิตและการบริโภคทุเรียนของโลกและการส่งออกทุเรียน
ของไทย
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2562.
[Online].Available :http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/sale%20product%2062.pdf
Pakawadee Sermsappasuk,(2013). Durian: Nutrition Facts and Pharmacology. Songkla Med J 2013;31(2):83-90