ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาอิสลามศึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงา

Main Article Content

pira wattitham

บทคัดย่อ

ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาอิสลามศึกษากรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาอิสลามศึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงาประชากรเป็นนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนสอนศาสนาภายในจังหวัดและและพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง จำนวน 1,684 คน  และกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนสอนศาสนาภายในจังหวัดและและพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง จำนวน 1,201 คน  โดยได้จากการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยชุมชนพังงา แบ่งเป็น  3ส่วน ดังนี้  ส่วนที่  1ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นแบบเลือกตอบ  (Check  list)จำนวน 4 ข้อ และ เป็นคำถามปลายเปิด จำนวน  5  ข้อ  ส่วนที่  2รายละเอียดเบื้องต้นของหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาอิสลามศึกษา และความสนใจเข้าศึกษาเป็นแบบเลือกตอบ  (Check  list) จำนวน 4 ข้อ ส่วนที่  3ความคิดเห็นข้อเสนอแนะ  เป็นคำถามปลายเปิด  (Open ended question)  จำนวน  1  ข้อ  ผลการวิจัยพบว่า  มีผู้ตอบแบบสำรวจเป็นเพศหญิงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.86 มีอายุระหว่าง 17-25 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.08 มีอาชีพปัจจุบันเป็นนักเรียน/นักศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.33 มีระดับการศึกษาสูงสุดเป็นมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช./เทียบเท่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.42 มีสถานะภาพเป็นนักศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95.17 มีผู้ที่มีสถานะภาพเป็นนักศึกษากำลังศึกษาที่โรงเรียนดาริสสลามวิทยามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.49 มีผู้ให้ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ โรงเรียนที่กำลังศึกษา ชื่อ-สกุล ที่อยู่ โทรศัพท์ และ e-mail / Line ID / Facebook จำนวน 1,176 คน มีผู้สนใจเข้าศึกษามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.78 มีปัญหา หรือ อุปสรรคในการเข้าศึกษาเรื่องการเดินทางไปสถานที่เรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.73 มีความต้องการให้วิทยาลัยชุมชนพังงา เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาอิสลามศึกษา ณ วิทยาลัยชุมชนพังงา อำเภอทับปุด จังหวัดพังงามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.54 และ มีความต้องการให้ช่วงเวลาที่จัดการเรียนการสอนเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74.69

Article Details

How to Cite
[1]
pira wattitham, “ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาอิสลามศึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงา”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 53–65, พ.ย. 2020.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

แผนกลยุทธ์การศึกษาของวิทยาลัยชุมชนระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558-2562). (2558). เป้าหมาย3 Tracks ของ
วิทยาลัยชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิทยาลัยชุมชน.
สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดพังงา. (2563). มัสยิดและสัปปุรุษ. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม
2563, จาก http://www.masjidthai.com/pna/
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). อิสลามศึกษาแบบเข้ม วิชาสามัญควบคู่ศาสนา : รูปแบบที่ชุมชนต้องการ.
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, ฉบับวันที่ 8 มิถุนายน2553
พีรพงษ์ บรรจงแสวง.(2556). วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวมุสลิม. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก
https://region7.prd.go.th/ewt_news.php?nid=30405&filename=index&nid=30405&filename=index
มัสลัน มาหะมะ.อิสลามกับระบบการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2563, จาก
https://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=61&id=957
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2554).อิสลามศึกษาวิถีชีวิตที่มุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, ฉบับวันที่ 5
เมษายน 2554