นวัตกรรมการสร้างแบรนด์บุคคล เพื่อลดข้อเสียเปรียบของธุรกิจขนาดเล็กอาหารแปรรูปเพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียน

Main Article Content

ณชจันทร์ ภูริวรางคกูล

บทคัดย่อ

นวัตกรรมการสร้างแบรนด์บุคคลเพื่อลดข้อเสียเปรียบของธุรกิจขนาดเล็กอาหารแปรรูปเพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียน เป็นความพยายามเพื่อนำสินค้าและบริการหรือสิ่งอื่นๆเข้าสู่กระบวนการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพของธุรกิจขนาดเล็ดและขนาดย่อมของประเทศไทย(SMEs) โดยใช้วิธีการสร้างคนให้เป็นแบรนด์เพื่อลดข้อเสียเปรียบทางด้านแบรนด์สินค้า ทุน และบริบทอื่นๆ ทั้งนี้วิธีการสร้างคนให้เป็นแบรนด์ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจค้นหาว่าตัวเองมี จุดเด่น จุดต่าง เพื่อสร้างความแตกต่าง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างจุดเด่น สร้างความแตกต่าง ขั้นตอนที่ 3 การสื่อสารแบรนด์บุคคล และขั้นตอนที่ 4 การรักษาแบรนด์บุคคลให้มีต่อเนื่องและความยั่งยืน และสามารถนำแบรนด์บุคคลที่ได้รับการสร้างและพัฒนาและไปลดข้อได้เสียบเปรียบของตนเองคือ การพัฒนาแบรนด์บุคคล ควบคู่กับแบรนด์สินค้าโดยใช้หลักการการสื่อสารซ้ำ การเตรียมเนื้อหาเพื่อแบ่งปันได้ การทำระบบนิเวศวิทยาทางธุรกิจ การใช้ความต่อเนื่องในการสื่อสาร และมีความร่วมมือกับคนในกลุ่มงานเดียวกัน จึงจะสามารถลดข้อเสียเปรียบของ SMEs ได้จริง


          ส่วนการนำแบรนด์บุคคลไปพัฒนาองค์กรเพื่อการส่งออกนั้นเป็นเรื่องที่ธุรกิจ SMEs ด้านอาหารควรใช้การสังเกตระบบนิเวศทางสังคมและทางสภาพแวดล้อมของประเทศกลุ่มอาเซียนที่องค์กรจะส่งออกอย่างละเอียด และใช้การเตรียมเครื่องมือในตลาดออนไลน์ให้พร้อมจะทำให้ สามารถลดข้อเสียเปรียบของ SMEs อาหารแปรรูปเพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียนได้ในที่สุด       

Article Details

How to Cite
[1]
ภูริวรางคกูล ณ., “นวัตกรรมการสร้างแบรนด์บุคคล เพื่อลดข้อเสียเปรียบของธุรกิจขนาดเล็กอาหารแปรรูปเพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียน”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 18–33, ก.ย. 2020.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ฐานเศรษฐกิจ,ออนไลน์.(2563).สสว.เผย SMEs ยกเลิกกิจการเพิ่ม 3.56%.ออนไลน์ ลงวันที่ 8 มกราคม 2563.https://www.thansettakij.com/content/418419.เข้าเมื่อ 16 เมษายน 2563.
ตระหนักจิต ยุตยรรยง.(2561).การสร้างแบรนด์บุคคลในยุคประเทศไทย 4.0.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2.
แดเนียล พรีสลีย์.(2561).สร้างธุรกิจที่คนอยากซื้อมาก จนยอมรอต่อคิว : Oversubscribed.แปล
โดย ภัทรพร เปี่ยมสมบูรณ์,อรุณวดี ลีวะนันทเวช.กรุงเทพมหานคร. ลีฟ ริช ฟอร์เอฟเวอร์, บจก.
ปราณี เอี่ยมลออภักดี.(2553).การสร้างบุคลิกส่วนบุคคลในตราสินค้าในภาคธุรกิจ.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2553.
รมิดา โพธิกุลธร และ อภิรัตน์ กังสดารพร.(2562).ปรากฏการณ์การสื่อสารทางการตลาดของผู้ทรงอิทธิพลในธุรกิจในโลกออนไลน์.รายงานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 14 ปีการศึกษา 2562.มหาวิทยาลัยหอการค้า.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.(2560).รู้ลึกอาเซียน อาหารและเครื่องดื่มไทยทำเงิน.ข้อมูลวิจัยเดือนกรกฏาคม 2560.กรุงเทพมหานคร.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.
สมทบ แก้วเชื้อ บัณฑิต ผังนิรันดร์ และ ธนพล ก่อฐานะ.(2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ
ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม2562 หน้าที่ 33-44.
สุภาวดี จรุงธรรมโชติและรุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ.(2560).ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างแบรนด์
กิจการเพื่อสังคมกลุ่มอาหารออร์แกนิค.การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 หน้าที่ 1407-1419.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.(2562).บทสรุปผู้บริหารรายงานสถานการณ์
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2562.กรุงเทพมหานคร.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม.
อัญชลี หล่อนิลและจันทิมา เขียวแก้ว.(2562). การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการสื่อสารการตลาดใน
กลุ่มธุรกิจผู้เลี้ยงกระบองเพชร. การประชุมนาเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ
ครั้งที่ 14 ปี การศึกษา 2562 หน้าที่ 274-285. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
RYT9.(2563). Share โลกเศรษฐกิจ: ปรับกลยุทธ์ SMEs ส่งออก สไตล์ปีหนู.ข่าวหุ้น-
การเงิน Monday February 3, 2020 13:29 —ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า.
ออนไลน์. https://www.ryt9.com/s/exim/3091307.เข้าถึงเมื่อ 16 เมษายน 2563.