การพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์ของนักเรียนชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงราย เพื่อเข้าสู่ตลาดประชาคมอาเซียน

Main Article Content

กิตติ สุทธิจิระพันธ์

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์ของนักเรียนชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงรายนั้น ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยจำนวน 6 กิจกรรมด้วยกัน ได้แก่ 1.การประชุมและกิจกรรมอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านธุรกิจให้กับทีมครูในโรงเรียน (Coaching) 2.การลงพื้นที่ตามแต่ละโรงเรียนเพื่อจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ (Career compass youth camp) และการเพิ่มความรู้ ทักษะทางการเงิน (Financial literacy) แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มเป้าหมาย 3.การลงพื้นที่ตามแต่ละโรงเรียนเพื่อกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำ Business Model Canvas (BMC) พร้อมคัดเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการต่อยอดเชิงธุรกิจ แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มเป้าหมาย (โดยคัดนักเรียนที่มีความสนใจและมีโอกาสเป็นไปได้จริง จากคณะครูของโรงเรียนนั้น) 4.การพานักเรียนกลุ่มเป้าหมายมาศึกษาดูงาน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ช่องทางการตลาด รวมถึงเกิดแรงบัลดาลใจในการผลิตสินค้า 5.การสนับสนุนงบประมาณในการขับเคลื่อน ต่อยอด ผลิตภัณฑ์ให้เกิดเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นจริงในโรงเรียนโดยการสนับสนุนของชุมชน และหน่วยงานภาคีในท้องถิ่นโดยมีนักเรียนและคณะครูของแต่ละโรงเรียนเป้าหมายเป็นผู้ผลิตและขายจริง ทั้งนี้ ช่องทางการตลาดที่ใช้ในการจัดจำหน่ายเป็นทั้งกรณีตลาดออฟไลน์และออนไลน์ เพิ่มเติมโดยการจัดการฝึกอบรมสำหรับนักเรียนชาวไทยภูเขาเรื่องช่องทางการตลาดออนไลน์อย่างง่ายโดยคณะวิทยากรที่มีความรู้ความชำนาญ และ 6.การลงพื้นที่ตามแต่ละโรงเรียนเพื่อสรุปผลและติดตามการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า อธิบาย ชี้นำให้เห็นถึงการต่อยอดธุรกิจในชุมชน การผลิตสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนให้เกิดรายได้จริง

Article Details

How to Cite
[1]
สุทธิจิระพันธ์ ก. . ., “การพัฒนาทักษะอาชีพด้านธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์ของนักเรียนชาวไทยภูเขาในจังหวัดเชียงราย เพื่อเข้าสู่ตลาดประชาคมอาเซียน”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 1–17, ก.ย. 2020.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

ธีระพงค์ อินทนาม.(2543).ปัญหาการดำเนินนโยบายรวมพวกชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงราย.
วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันพระปกเกล้า. คำนำ.
พรเพ็ญ แก้วหาญ และคณะ.(2561). การพัฒนากระบวนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชน ในเขตพื้นที่ชนบทจังหวัดเชียงราย.วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ: สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2561. หน้า 29.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง และ ปิยนันท์ ทองคำชุม.(2548). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย :
ดาระอ่าง (ปะหล่อง).กรุงเทพมหานคร:เอกพิมพ์ไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ภูมิปัญญาไทยในการดำเนินชีวิตของชาวกรุง
ศรีอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: สกศ.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย. (2556). กลุ่มอาชีพจังหวัดเชียงราย. เชียงราย: สำนักงานฯ.
หน้า 3.
อานันท์ กาญจนพันธุ์, 2545). การต่อสู้เพื่อความเป็นคนของคนชายขอบในสังคมไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ณ ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 36