วิถีน้ำ วิถีบก : การให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนคนระโนด กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์ระโนด ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

Main Article Content

เกษฎา เมฆเรือง
เดโช แขน้ำแก้ว
อุดมศักดิ์ เดโชชัย
จิตติมา ดำรงวัฒนะ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนด้าน “วิถีน้ำ
วิถีบก” คนระโนด (2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนด้าน“วิถีน้ำ วิถีบก”
คนระโนด และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนด้าน “วิถีน้ำ วิถีบก”
คนระโนด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 13 คน คือ กลุ่มบุคลากรที่มีหน้าที่ในการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าชมจำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการด้านความรู้ และผู้รับบริการความรู้ จำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนด้าน “วิถีน้ำ วิถีบก” คนระโนด พบว่า การจัดนิทรรศการเป็นการนำเอาเอกลักษณ์ของชุมชนถ่ายทอดเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคม ศิลปวัฒนธรรมวัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตชาวระโนดที่เกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ศึกษาจากห้องจัดนิทรรศการที่มีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน และสามารถติดต่อประชาสัมพันธ์สื่อสารกับผู้เข้าชมหลากหลายสื่อ หลายช่องทาง (2) สภาพปัญหาการให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนด้าน “วิถีน้ำ วิถีบก” คนระโนด พบว่า การจัดนิทรรศการหมุนเวียนน้อยที่ไม่ค่อยเปลี่ยนไปจากเดิมเนื้อหาล้าสมัยไม่ค่อยเป็นที่สนใจของผู้เข้าชมเนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ค่อยดี อาจทำให้จำนวนผู้เข้าชมน้อยงบประมาณในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ก็แบ่งจ่ายตามความจำเป็น และ (3) แนวทางส่งเสริมการให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนด้าน “วิถีน้ำ วิถีบก” คนระโนด พบว่า ส่งเสริมโดยการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการทำกิจกรรมตามห้องนิทรรศการ เช่น สแกนแล้วมีข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ เสียงหลากหลายภาษาเพื่อผู้พิการหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติพิพิธภัณฑ์สามารถที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยให้มากขึ้น
ตามความต้องการของผู้เข้าชม เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ดำรงอยู่ได้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

Article Details

How to Cite
[1]
เมฆเรือง เ. ., แขน้ำแก้ว เ. ., เดโชชัย อ. ., และ ดำรงวัฒนะ จ. ., “วิถีน้ำ วิถีบก : การให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนคนระโนด กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์ระโนด ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา”, ้่j of human, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 66–82, พ.ย. 2020.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กฤษฎา ตัสมา. (2560). การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 12(24),
70-84.
กุลทิกา วิบูลย์ปืน. (2559). Museum Marketing Mix. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 จาก http://www.
tci-thaijo.org/index.php/Weridian-E-Journai/article/view/9204/72136.
ขนิษฐา วิเศษสาธร. (2559). พิพิธภัณฑ์ระโนด. จังหวัดสงขลา : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
จาระไน ไชยโยธา. (2556). การจัดการพิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรัฎฐา จารุพิสิฐธร. (2554). การนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในพิพิธภัณฑ์ดนตรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชา การศึกษาตลอดชีวิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ. (2559). ปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.
ชุลีรัตน์ เจริญพร. (2560). “เมืองน่าอยู่”: แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ชุมชน
หลักหก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(ฉบับพิเศษ), 1-13.
พวงทิพย์ เกิดทรัพย์, วรชัย วิริยารมภ์, สิริกุล วิริยารมภ์, และกฤตย มีทวี. (2549). การศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชน บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง จังหวัดตาก. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2556). การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา พัฒนาศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชยา กุลวานิชไชยนันท์. (2535). ความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อบริการทางการแพทย์ตามนโยบายประกันสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานประกันสังคม.
วรพจน์ นวลสกุล. (2550). การจัดนิทรรศการ EXHIBITION. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 เข้าถึงได้จากhttp://www.lib.ubu.ac.th/html/techno/Down%20Load/bod%20261.doc.
สโรชา เมฆอรุณ. (2557). การจัดการพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ : กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์.สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สุธาวรรณ หนูครองสิน. (2559). การสำรวจพฤติกรรม และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการใช้สื่อมัลติมีเดียในการสร้างรูปแบบนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุวัฒน์ชัย สวัสดิผล. 2552. ทุนทางสังคมกับการจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนมอญบางกระดี่. ภาควิชาการ พัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.