การพัฒนาจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการเรียนร้องเพลงบอก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ปรีชา สุขจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าไม้ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง 2) เพื่อพัฒนาจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าไม้ ด้วยการเรียนร้องเพลงบอก         เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 


              ผลการวิจัย มีดังนี้ ก่อนการเรียนร้องเพลงบอก นักเรียนเข้าใจว่าการอนุรักษ์ป่าไม้เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่และภาคราชการ นักเรียนไม่เข้าใจความสำคัญของป่าไม้ และระบบความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นกับการอนุรักษ์ป่า การเรียนร้องเพลงบอกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้และระบบเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าไม้ โดยพบว่าหลังจากเรียนร้องเพลงบอก 1) นักเรียนมีความคิด มีเหตุผลจากการรับรู้ถึงความสำคัญของป่าไม้ คำนึงถึงภาวะโลกร้อน 2) นักเรียนมีความรู้สึกรัก หวงแหนป่าไม้ รู้สึกภูมิใจในชีวิตที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความรู้สึกมั่นใจ กล้าเป็นผู้นำในการนำเสนอข้อมูลเชิงอนุรักษ์ 3) การปฏิบัติ           ในระดับครอบครัว ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เลิกใช้สารเคมี ระดับชุมชน ปฏิบัติโครงการปลูกป่าชุมชน ร่วมกันรณรงค์และส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ ในระดับสังคม เป็นสมาชิกยุวเกษตร   


              ข้อเสนอแนะ 1) โรงเรียนควรส่งเสริมกิจกรรมด้านอนุรักษ์ป่าและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในทุกระดับชั้นเรียน 2) ควรมีการวิจัยเพิ่มเติมด้านจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าของนักเรียน             ทั้งโรงเรียนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่

Article Details

How to Cite
[1]
สุขจันทร์ ป., “การพัฒนาจิตสำนึกอนุรักษ์ป่าไม้ด้วยการเรียนร้องเพลงบอก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช”, ้่j of human, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 52–68, ธ.ค. 2019.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน,สำนักงาน. (2552). ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
กระมล ทองธรรมชาติและพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2554). ข้าราชการไทยความสำนึกและอุดมการณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา รอดแก้ว. (2550). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายการเรียนรู้โดยใช้แนวการ เรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชนในเขตภาคกลาง วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
จิตรารัตนีโพธิมามกะ และคณะ.(2550). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎสวน ดุสิต.
ธวัชชัย ไทยเขียว. (2554). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนกับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: รายงานวิจัยกรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน.
ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่
ส่งผลต่อจิตสำนึกและพฤติกรรมการรักษาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นทรัพย์สินส่วนรวม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
นิวัติ เรืองพานิช. (2551). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ชาญเฉลิม.
บำรุง ถุงน้อย. (2549). เปรียบเทียบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
ปทุมมาศ สุทธิสวัสดิ์. (2551). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการสืบทอดภูมิปัญญาศิลปะการแสดงหนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
ปาริชาติ วลัยเสถียร (บก). (2553). กระบวนการทัศน์ใหม่กับการเรียนรู้ของชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).
พรรณเรศ ไชยา. (2553). บทบาทของครูที่มีต่อการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหาร สังคมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2552). พฤติกรรมการเมืองขอบข่ายทางทฤษฎี. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการ พิมพ์.
รัญจวน อินทรกำแหง. (2528). ประชาธิปธรรมิกสังคมนิยม. ปาจารยสาร ปีที่ 16 พฤศจิกายน- ธันวาคม 2528. หน้า 110 – 119.
วรรณ วนาลัย และคณะ. (2554). ป่าไม้จะอยู่ยั่งยืนยง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วราพร ศรีสุพรรณ. (2542). ปัญหาสื่อการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับป่าไม้. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2544). ป่าไม้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สวัสดิ์ โนนสูง. (2554). ป่าไม้ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุกาญจน์ รัตนเลิศนุสรณ์. (2550). ทรัพยากรที่มีค่า. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ่ง.
________. (2550). หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี.
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย. (2550). กระบวนการเรียนรู้แนวคิดความหมายและบทเรียนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).
สุรีรัตน์ ภูวัฒนศิลป์. (2549). การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุณีย์ธีร ดากร. (2552). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎพระนคร.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.
เสถียร เชยประทับ. (2553). การสื่อสารงานนวกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรรถพล บุญชัยยะโยธิน. (2553). ยุทธศาสตร์การใช้สื่อเพื่อพัฒนาจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
อภิชัย พันธเสน. (2554). ทำอย่างไรจึงจะได้ป่าและพื้นที่สีเขียวคืนมา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.