การพัฒนาชุมชนช่องป่าด้วยทุนทางสังคม

Main Article Content

สมคิด ทับทิม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางสังคมของชุมชนช่องป่า และ 2) การพัฒนาชุมชนช่องป่าด้วยทุนทางสังคม ตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์โดยการสนทนากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


  ผลการวิจัยมีดังนี้ ทุนทางสังคมของชุมชนช่องป่า มีต้นกำเนิดทุนจากบุคลากรที่เป็นคนจีน คนไทยเชื้อสายจีนและคนไทย มีการเปลี่ยนผ่านตามความเจริญด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยสุขาภิบาลและเทศบาลตำบลจันดี รวมทั้งกลุ่มองค์กรที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของชุมชนเช่น กลุ่มแม่บ้านชุมชน กลุ่มแม่บ้านตำบลจันดี กลุ่มแม่ค้าตลาดจันดี เครือข่ายคณะกรรมการชุมชน รวมทั้งประเพณี สาร์ทไทย สาร์ทจีน การปฏิสัมพันธ์ทั้งจากวิถีชีวิต การประกอบอาชีพ การประกอบกิจกรรมทางศาสนา ความเชื่อ จนกระทั่งเกิดเป็นทุนทางสังคมภายใน คือความเชื่อถือไว้วางใจ ต่อผู้นำชุมชนที่เป็นคนประสานขับเคลื่อนชุมชนร่วมกับเทศบาลตำบลจันดี นำมาซึ่งความร่วมมือ ความรักสามัคคี เกิดความผูกพันต่อชุมชน การพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมมี 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มผลิตเครื่องอุปโภคครัวเรือน 2) ด้านประเพณี วัฒนธรรม ประเพณีร้อยใจรวมเป็นหนึ่งชาวชุมชนช่องป่า 3) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การใช้น้ำซึมจากธรรมชาติ 4) ด้านสาธารณสุข การแก้ปัญหามลพิษจากขยะชุมชน


  ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (1) ชุมชนช่องป่าควรดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทุนทางสังคมให้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องและกระจายทั่วทุกพื้นที่ (2) ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมทุนทางสังคมของตำบลจันดีซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่

Article Details

How to Cite
[1]
ทับทิม ส., “การพัฒนาชุมชนช่องป่าด้วยทุนทางสังคม”, ้่j of human, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 69–85, ธ.ค. 2019.
บท
บทความวิชาการและบทความวิจัย

References

จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
เฉลิมชัย สังสันไทย. (2548). กลยุทธ์การพัฒนาทุนสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. สุราษฏร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.
ชบ ยอดแก้ว. (2541). ชุมชนเข้มแข็งทุนทางสังคมของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อ สังคม.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า.
ทวี วงศ์พุฒ. (2539). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาชีพบัญชี.
ทองใบ หัตถกิจ. (2548). สรุปเนื้อหาทุนทางสังคม. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2558, จาก http//www.teacher.ssru.ac.th/aphichart_ka/file.php/1/ppt/44._.doc
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2550). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2558, จาก http//gonoknow.org/blog/ed-nuqakm/3652
เทศบาลตำบลจันดี. (2558). แผนพัฒนาเทศบาลสามปี พศ.2559-2561. นครศรีธรรมราช: เทศบาล ตำบลจันดี.
ธัญลักษณ์ คล้ายรุ่ง. (2553). การใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชน. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตยา กันตะวงษ์. (2542). การศึกษานอกระบบ. สุราษฏร์ธานี: สถาบันราชภัฏสุราษฏร์ธานี.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิด แนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
ประเวศ วะสี. (2541). ทุนสังคมกับการพัฒนา. กรุงเทพ: บพิตรการพิมพ์.
______. (2547). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม ราชบัณฑิตยสถาน.

พิทยา ว่องกุล. (2542). ปัญหาคนจนในประเทศไทยและพัฒนาการของสมัชชาคนจน. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์ การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภณการพิมพ์.
วรพล ฝ่ายอุปปละ. (2553). การเสริมสร้างศักยภาพของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชน ของเทศบาลตำบลด่านสำโรง. ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชน เป็นสุข.
ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช. (2552). กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2547). ทฤษฏีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). รายงานประจำปี 2548 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สีนาด ตรีวรรณไชย. (2548). ทุนทางสังคม : ความหมายและความสำคัญ, ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2559, จาก http//www.prachatai.com/journal/2005/01/2262
สุทันทา เลาหนันท์. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา.
สุเทพ พงศ์ศรีวุฒน์. (2550). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ:ศาสตร์ศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. เชียงราย: มหาวิทยาลัยเชียงราย.
เสน่ห์ สุวรรณโชติ. (2555). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นโดยอาศัยทุนชุมชน. รายงานการศึกษา อิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). ทุนทางสังคม. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.phongphit.com/2013/index.php
______. (2553). ปฏิรูปสังคมไทย. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์
______. (2553). ร้อยคำที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลังปัญญา
______. (2554). กระบวนทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
______. (2555). เครือข่าย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
______. (2555). แผนที่ชีวิต เข็มทิศชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลังปัญญา
______. (2555). มหาวิทยาลัยชีวิต. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.phongphit.com/2013
ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช. (2552). กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อคิน รพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและ วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
อภิศักดิ์ ธีระวิสิษธ์. (2553). หลักการพัฒนาชุมชน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อเนก นาคุบุตร. (2541). ชุมชนเข้มแข็ง ทุนทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ธนาคารออมสิน
อัมรา พงศาพิชญ์. (2543). ทุนทางสังคมในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในสังคมไทย. เอกสาร ประกอบการประชุม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2541). การระดมทุนเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
อุมาสวรรค์ คุณสิงห์. (2554). ทุนทางสังคมและการเสริมสร้างพลังชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.