การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท แก้วใจรักษ์ -
  • กฤษฎากร ผาสุข
  • กุลธิดา นุกูลธรรม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา, ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์, เทคนิคการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลด่านมะขามเตี้ย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 46 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน จำนวน 4 แผน และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้าทางการเรียน (N gain)

ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.76/81.97 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน มีทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความก้าวหน้าทางการเรียน (N Gain) เท่ากับ 0.30 อยู่ในระดับปานกลาง

References

กฤษณะ พวงระย้า, กุลธิดา นุกูลธรรม และ ทัศตริน วรรณเกตุศิริ. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาครูเคมีด้วยกิจกรรมสะเต็มศึกษาแบบสืบเสาะหาความรู้บูรณาการกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม. หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 12(2): 202-217.

กวิน เชื่อมกลาง. (2556). รอบรู้เทคโนโลยี กระบวนการออกแบบวิศวกรรม คืออะไร? นิตยสาร สสวท., 42(185): 26-29.

ชมพูนุท แก้วใจรักษ์, กุลธิดา นุกูลธรรม และ ทัศตริน วรรณเกตุศิริ. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่บูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เรื่อง น้ำ เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และความตระหนักรู้ต่อสิ่งแวดล้อม. หน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 14(2): 198-218.

นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์. (2553). การวิเคราะห์ผลของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดลองแบบอนุกรมเวลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บังอร เสรีรัตน์, สุมาลี เชื้อชัย, เรวณี ชัยเชาว์รัตน์, เฉลิมชัย พันธ์เลิศ, กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล และ นาฎฤดี จิตรังสรรค์. (2567). คู่มือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ. เข้าถึงได้จาก https://www.edusandbox.com/13-3-24-cbe/

ประสาท เนืองเฉลิม. (2561). สะเต็มศึกษากับสไตล์การเรียนรู้ตามแนวคิด Kolb. Journal of Humanities and Social Sciences, 11: 11-17.

ปรานวดี อุ่นญาติ. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาตามแนวทางกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับเทคนิคสแคมเปอร์ (SCAMPER) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์ชนก แพงไตร. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดทอแรนซ์ เรื่อง อาหารและการดำรงชีวิต เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อน ด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. สสวท., 41(182): 15-20.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2544). การประเมินทักษะกระบวนการและการแก้ปัญหา ในวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือครูรายวิชาเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. สสวท., 46(189): 7-10.

สมรัก อินทวิมลศรี. (2560). ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

สิริลักษณ์ ตาณพันธุ์. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนสังคมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

สุธิดา การามี. (2560.) การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา ตอนที่ 1. นิตยสาร สสวท., 46(209): 23-27.

สุวิมล สาสังข์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2559). ความสำคัญของวิศวกรรมในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาปริทัศน์, 31(3): 48-53.

Guo, J. & Woulfin, S. (2016). Twenty-First Century Creativity: An Investigation of How the Partnership for 21st Century Instructional Framework Reflects the Principles of Creativity. Roeper Review, 38: 153-161. doi:10.1080/02783193.2016.1183741

Hake, R. R. (1999). Analyzing Change/Gain Scores. Department of Physics, Indiana University.

Kartini, F. S., Widodo, A., Winarno, N., & Astuti, L. (2021). Promoting student's problem-solving skills through STEM project-based learning in earth layer and disasters topic. Journal of Science Learning. 4(3): 257-266.

National Research Council. (2012). Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concepts, and Core Ideas. Retrieved from http://nap.edu/13165

Partnership for 21st Century Skills. (2013). P21 Framework Definitions. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED&519462.pdf

Pellegrino, James W. & Hilton, Margaret L. (2012). Education for Life and Work: Developing Transferable Knowledge and Skills in the 21st Century. New York: National Academy Press.

Rosicka, C. (2016). Translating STEM education research into practice. Australian Council for Educational Research

Sangngam, S. (2021). The development of early childhood students’ creative thinking problem solving abilities through STEM Education learning activities. In Journal of Physics: Conference Series (Vol. 1835, No. 1, p. 012008). IOP Publishing.

Treffinger, D. J., Selby, E. C. & Isaksen, S. G. (2008). Understanding individual problem-solving style: A key to learning and applying creative problem solving. Learning and Individual Differences. 18(4): 390-401. doi:10.1016/j.lindif.2007.11.007

UNESCO. (2017). Education for Sustainable Development Goals Learning Objectives. Paris: the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.

Wood, C. (2006). The development of creative problem solving in chemistry. Chemistry Education Research and Practice. 7(2): 96-113. doi:10.1039/B6RP90003H

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

แก้วใจรักษ์ ช., ผาสุข ก., & นุกูลธรรม ก. (2024). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 167–185. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/277194