การสื่อเจตนาของตัวละครเอกและตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสป

ผู้แต่ง

  • ซัลมาณ ดาราฉาย -
  • เยี่ยนถิง หลิว

คำสำคัญ:

การสื่อเจตนา, ตัวละครเอก, ตัวละครประกอบ, นิทานอีสป

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อเจตนาของตัวละครเอกในหนังสือนิทานอีสป และ 2) การสื่อเจตนาของตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสป ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาษาที่แสดงการสื่อเจตนาจากบทสนทนาของตัวละครในหนังสือ “101 อมตะนิทานอีสป” กรอบแนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานของการวิจัยประยุกต์จากแนวคิดเรื่อง “ชนิดของประโยคที่แบ่งตามเจตนา” และแนวคิดเรื่อง “การใช้ประโยคแสดงเจตนา” สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออัตราส่วนร้อยละ

ผลการวิจัยปรากฏว่า การสื่อเจตนาของตัวละครเอกในหนังสือนิทานอีสปจำแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแจ้งให้ทราบ (ร้อยละ 68.15) การบอกให้ทำ (ร้อยละ 19.11) และการถามให้ตอบ (ร้อยละ 12.74) ส่วนการสื่อเจตนาของตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสปจำแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแจ้งให้ทราบ (ร้อยละ 50.00) การถามให้ตอบ (ร้อยละ 30.51) และการบอกให้ทำ (ร้อยละ 19.49) นอกจากนี้ งานวิจัยครั้งนี้มีข้อค้นพบว่า ตัวละครเอกและตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสปมักสื่อเจตนาประเภทการแจ้งให้ทราบที่เป็นการบอกเล่า การแย้ง การคาดคะเน การเน้น การสรุป และการอธิบายเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้ฟังรับทราบ

References

จอมขวัญ สุทธินนท์. (2563). เจตนาในการสื่อสารที่สะท้อนผ่านถ้อยคําในสติกเกอร์ไลน์ภาษาไทยที่มีลักษณะเหนือหน่วยเสียงด้านทํานองเสียงที่มีลักษณะทํานองเสียงขึ้น. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 3(1), 46-67.

ชุดชล เอมดิษฐ. (2557). การใช้วัจนกรรมอ้อมของผู้พูดภาษาไทยมาตรฐานตามสถานภาพทางสังคม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(2), 64-71.

นววรรณ พันธุเมธา. (2559). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจวรรณ ศริกุล, จินตนา พุทธเมตะ, และอัตรา บุญทิพย์. (2555). วิเคราะห์ภาษาในแผ่นพับโฆษณาเครื่องสำอางปี พ.ศ. 2551. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 4(7), 42-56.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566. จาก https://dictionary.orst.go.th/

รัตนา คชนาท. (2559). 101 อมตะนิทานอีสป (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ห้องเรียน จำกัด.

ราตรี ธันวารชร, และอนันต์ เหล่าเลิศวรกุล. (2552). ประโยค. ใน วิจินตน์ ภาณุพงค์ และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3: ชนิดของคํา วลี ประโยค และสัมพันธสาร. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ.

วิเชียร เกษประทุม. (2542). นิทานพื้นบ้าน (ฉบับปรับปรุงล่าสุด). กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

วิภาวี รัตนานุกูล, และจอมขวัญ สุทธินนท์. (2561). หน่วยกรรมในประโยคที่แสดงเจตนาต่าง ๆ จากวรรณกรรมเรื่องเจ้าชายน้อย. โครงการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์: พลังปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Wisdom power for sustainable development” ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 409-418.

ศิโรรัตน์ ศิริเพ็ญ. (2560). กลวิธีการสื่อความหมายในบทโฆษณาที่อยู่อาศัยทางโทรทัศน์. วารสารวจนะ. 5(1), 38-61.

อัจฉราพร ใครบุตร, และวิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2559). วัจนกรรมในบทเพลงปลุกใจให้รักชาติระหว่าง พ.ศ. 2510-2550. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2(2), 61-69.

Estuaria, A. (2020). Elements of a Fable. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.slideshare.net/aprilestuaria/lesson-1-elements-of-a-fable

Wahyuni, H. I., Budiman, A., Abidin, R. & Yuliandari, E. T. (2023). Potential of fables as learning resources for environmental education and Its relevance to the Merdeka Belajar Curriculum. Jurnal Pendidikan Indonesia Gemilang. 3(1), 87-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19