แนวทางการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร มีน้อย Muban Chombueng Rajabhat University

คำสำคัญ:

การจัดการชุมชน, การมีส่วนร่วม, นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพ และบริบทการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดราชบุรี 2)  เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมการทองเที่ยวของกลุ่ม    ผูสูงอายุในจังหวัดราชบุรี  3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมการซื้อซ้ำของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดราชบุรี  และ 4) เสนอแนวทางการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เดินทางมาในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 20 คน ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบสมมติฐานผ่านการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า  แหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดราชบุรี มีสิ่งดึงดูด ได้แก่ ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม มีความสามารถในการเข้าถึง มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ แต่กิจกรรมที่โดดเด่นและสร้างสรรค์ยังมีจำนวนน้อย นอกจากนี้ ยังมีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมการซื้อซ้ำของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดราชบุรี ได้แก่ องค์ประกอบด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการและการให้บริการ สิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวก นอกจากนี้ แนวทางการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ชุมชนควรดึงเสน่ห์ของความเรียบง่าย ความดั้งเดิมมาเป็นจุดขาย ควรกำหนดโครงสร้างคณะทำงานโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ควรดำเนินการร่วมกับเครือข่ายภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาด และการประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง

References

กฤติยา สมศิลา. (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพน อำเภอคาม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์.ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กาญจนาวดี พวงชื่น และ แสงสรรค์ ภูมิสถาน. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)

ชลธิชา พันธ์สว่าง และคณะ. (2562).การจัดการการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดราชบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย. ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม ).

นัยเนตร ขาวงาม. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ประภัสสร มีน้อย. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของภูมิภาคตะวันตกเพื่อรองรับการเข้าสู่ประเทศไทย 4.0. ดุษฎีนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระครูพิทักษ์ศิลปาคม. (2562). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์. สาขาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย .

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และ ธีระวัฒน์ จันทึก.(2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม).

ศิริกุล เกียรติกุลไพบูลย์. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุวัยเกษียน อายุ 60-79 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2562). ท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีสู่ความยั่งยืน. ค้นเมือง ธันวาคม 10, 2564, จาก https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพมหานคร

Gulick, Luther, and L. Urwick.(1939). Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration, Columbia University.

Kotler, Philip. (1997). Marketing Management : Analysis,Planning,Implementation and Control. 9th.ed.New Jersey:Prentice-Hall Inc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

มีน้อย ป. (2024). แนวทางการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี . วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 186–207. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267781