ศักยภาพการท่องเที่ยวและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ศักยภาพการท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยว, จังหวัดตรังบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวของตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า (1) ศักยภาพการท่องเที่ยวของตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ประกอบด้วย มีการบริหารจัดการด้านการจัดเตรียมเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย มีการบริหารจัดการด้านการแสดงข้อมูลข่าวสารในการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก และมีการบริหารจัดการด้านข้อบังคับด้านการแต่งกายและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการอย่างชัดเจน (2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน แนวทางการสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวอันน่าประทับใจที่มีคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม แนวทางส่งเสริมการตลาดเชิงรุกมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และแนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กรมการท่องเที่ยว. (2558). มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2565). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
เจนจิรา หวังหลี ชาคริต โคจรนา ธรรมาภรณ์ ยวนใจ และธนกฤต รัตนสิมานนท์. (2563: 92). การพัฒนาเว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดตรัง. วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(1), 84-93.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2565). การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวและโรงแรมอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม สาทินี วัฒนกิจ และทัชชญา สังขะกูล. (2562). กระบวนการค้นหาศักยภาพด้วยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 28(1), 50-64.
ดุสิตพร ฮกทา เสรี วงษ์มณฑา ชุษณะ เตชคณา และณัฐพล ประดิษฐ์ผลเลิศ. (2562). ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว จังหวัดตรัง, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 32(1), 215-247.
ปริญญา นาคปฐม และสิทธิชัย สวัสดิ์แสน. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครนายกภายหลังสถานการณ์โควิด-19. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 38-55.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทจูน พับลิชชิ่ง จำกัด.
แสงสุรีย์ ฐิติรัตนาการ และเสรี วงษ์มณฑา. (2564). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จังหวัดตรัง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(3), 60-78.
องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน. (2564). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. เข้าถึงได้จาก: http://palien.go.th/public/texteditor/data/index/menu/441. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2564
Denzin, N. (1978). Sociological Methods: A Sourcebook. NY: McGraw Hill.
Denzin, N. K., & Lincoln, Y. S. (1994). Preface. In N. K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative research. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Marshall, B., Cardon, P., Poddar, A., and Fontenot, R. (2013). Does sample size matter in qualitative research? A review of qualitative interviews in IS research. Journal of Computer Information Systems, 54, 11-22. Doi:10.1080/08874417.2013.11645667.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต