รูปแบบการพัฒนาทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ผู้แต่ง

  • สมภัสสร บัวรอด สาขาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • เสาวรส ชูศรี สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • อุทัยวรรณ ดอกพรม สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • สุรางค์ มันยานนท์ สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • อนุนาถ ชื่นจิตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต2

คำสำคัญ:

ทักษะการวิจัย, ครูรัก(ษ์)ถิ่น, ชุมชนเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาการศึกษาปฐมวัย 2) อาจารย์ประจำหลักสูตรกลุ่มวิชาชีพครู     3) ผู้บริหารโรงเรียน 4) ครูพี่เลี้ยง 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย 6) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชน ได้มา จากการเลือกอย่างเจาะจงจากผู้ที่ประสบการณ์ในงานด้านครูรัก(ษ์)ถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความต้องการพัฒนาทักษะการวิจัยนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้ทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย ทักษะทางวิชาชีพ 24 ตัวบ่งชี้ และทักษะทางอารมณ์ 16 ตัวบ่งชี้ 2) รูปแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนปลายทาง และชุมชนตาม    อัตลักษณ์ของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่นสามารถใช้การทักษะการวิจัยในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทชุมชน รูปแบบมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ในการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้จากงานตามสภาพจริง ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์

References

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ดิษยุทธ์ บัวจูม. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา และศศิธร คงอุดมทรัพย์. (2563). การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบชุมชนเป็นฐาน : ชุมขนบางน้ำผึ้ง กรณีศึกษาของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. SOUTHEAST BANGKOK JOURNAL. 6(1), 37-49.

พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ และดวงกมล จงเจริญ. (2565). ทักษะการวิจัยของครูนักวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ. 7(1), 166-178.

มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2558). โครงการถอดชุดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษาการบูรณาการการจัดการเรียนรู้วิชาออกแบบสถาปัตยกรรมกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(1), 143-156.

ยุทธพงษ์ อายุสุข. (2549). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วาสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11(3), 179-191.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมภัสสร บัวรอด. (2557). การพัฒนาทักษะด้านการวิจัยจากโจทย์ปัญหาภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับความเชื่อในการอบรมเลี้ยงดูเด็กใน 8 ชาติพันธุ์ จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 6(1): 32-43.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2564). วิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ สู่วิธีการวิจัยแบบผสม. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 3(1), 1-16. สืบค้นจาก https://www.tcithaijo.org/index.php/ejes/article/view/244913.

Ariratana, W., et al.,. (2012). Organization Development Paper. Subject of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University.

Maddens, L., Depaepe, F., Janssen, R., Raes, A., & Elen, J. (2019). Evaluating the Leuven Research Skills Test for 11th and 12th Grade. Journal of Psychoeducational Assessment, 38(4), 445–459.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-07

How to Cite

บัวรอด ส., ชูศรี เ., ดอกพรม อ., มันยานนท์ ส., & ชื่นจิตร์ อ. (2024). รูปแบบการพัฒนาทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 215–230. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/264721