การพัฒนาองค์ประกอบของอัตลักษณ์และกิจกรรมเสริมศักยภาพความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่นสู่ความเป็นครูมืออาชีพ
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์, นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น, กิจกรรมเสริมศักยภาพความเป็นครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาองค์ประกอบของอัตลักษณ์ความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2. เพื่อพัฒนาขอบข่ายของกิจกรรมเสริมศักยภาพความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) คณาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 10 คน 2) ผู้บริหารและครูในโรงเรียนปลายทาง จำนวน 10 คน 3) อาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการผลิตนักศึกษาครู จำนวน 5 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 10 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ การจับกลุ่มข้อความก่อนสร้างเป็นข้อสรุป
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบของอัตลักษณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ คือ “มีจิตวิญญาณความเป็นครู ใฝ่รู้ ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เชี่ยวชาญการพัฒนาท้องถิ่น” มีรายละเอียดดังนี้ 1) ด้านการมีจิตวิญญาณความเป็นครู 1.1) มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ 1.2) มีจิตวิญาณความเป็นครู 1.3) เป็นแบบอย่างที่ดี 2) ด้านใฝ่รู้ 2.1) แสวงหาความรู้ 2.2) มุ่งมั่นในการทำงาน 2.3) สร้างสรรค์นวัตกรรม 3) ด้านปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง 3.1) ปรับตัวทางด้านการเงิน 3.2) การทำงานร่วมกับโรงเรียนและชุมชนด้วยความอุทิศตนต่อส่วนรวม 4) ด้านสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ 4.1) สื่อสารกับผู้เรียนและผู้ปกครองอย่างสร้างสรรค์ 4.2) การสื่อสารกับชุมชน 5) ด้านความเชี่ยวชาญการพัฒนาชุมชน 3.1) พัฒนาท้องถิ่นตามบริบทของชุมชน
- ขอบข่ายของกิจกรรมเสริมศักยภาพความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่น ควรเพิ่มเติมในด้านใฝ่รู้ ด้านการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และด้านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ แต่อย่างไรก็ตามควรคงไว้เกี่ยวกับลักษณะสำคัญของกิจกรรมเสริมศักยภาพที่มีความเข้มข้นในการปฏิบัติจริงในแต่ละชั้นปี
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). อัตลักษณ์วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลง. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิจัยเชิงเอกสารเพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของแนวคิด การจัดการสมรรถนะการประกอบอาชีพของคนพิการ:บริบทของสถานการณ์ กระบวนทัศน์ และแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับสมรรถนะของมนุษย์ทุกคน. Verdian E-Journal, 11(3). 2162-2192.
นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560. หน้า 129-138
นันทพงศ์ หมิแหละหมัน และคณะ. (2563). การใช้กิจกรรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563. หน้า 559-567.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ศุภฤกษ์ รักชาติ. (2554). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้านความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์โรงเรียนและกระบวนการกำหนดอัตลักษณ์โรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lairio, M., Puukari, S. & Kouvo, A. (2013). Studying at university as part of student life and identity construction. Scandinavian Journal of Education Research, 57(2), 115-131.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต