การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะ, วิจัยในชั้นเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะ ด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู สำนักงานศึกษาธิการจังหวัfสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครู จำนวน 82 คน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม รูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ในการวิจัยในชั้นเรียนในสภาพปัจจุบันของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยสภาพที่คาดหวังของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านทักษะในการวิจัยในชั้นเรียนในสภาพปัจจุบันของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยสภาพที่คาดหวังของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ด้านเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน ในสภาพปัจจุบันของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยสภาพที่คาดหวังของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูสูงสุด คือ ด้านทักษะในการวิจัยในชั้นเรียน ด้านความรู้ในการวิจัยในชั้นเรียน และด้านเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน
References
จริยา เอียบสกุล. (2555). กระบวนการส่งเสริมงานวิจัยในสถานศึกษา. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 22(2), 367-376.
ทิพย์ศิริ และศิริชัย กาญจนวาสี. 2564. วิธีวิทยาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนุตม์ บุปผาสังข์. (2558). การพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน. เข้าถึงได้จาก http://amn.igetweb.com/?mo=3&art=406295.
ธัญญภรณ์ เลาหะเพ็ญแสง. (2554). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและการนำเสนอ
กระบวนการนำนโยบายวิจัยในชั้นเรียนสู่การปฏิบัติในโรงเรียน.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.
กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.
นพวรรณ ศรีเกตุ. (2557). การพัฒนารูแบบการประเมินคุณภาพงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ของนิสิตปฏิบัติการสอนและฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรรณิภา บรรใดทอง. (2550). สภาพและปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน อำเภอป่างิ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2.
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ.
ไพจิตร สะดวกการ และศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2545). ชุดฝึกอบรมครู ประมวลสาระ
เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สหไทย ไชยพันธุ์. (2553). ครูผู้สอนกับแนวปฏิบัติในการทำาวิจัย : วิจัยในชั้นเรียน.
วารสารวิชาการ 2, (3)99-114.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพ ฯ:
สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579.
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. 2565. ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา
จังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2563. กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานศึกษาธิการ
จังหวัดสมุทรปราการ
อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัย
ด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ สำหรับข้าราชการครู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.
Charles, C.M. & Mertler, A.C. (2002). Introduction to educational research (4th ed).
USA : A pearson education company.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต