การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT
คำสำคัญ:
วิธีการสอนอ่านแบบ MIA, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LTบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่นก่อนเรียนเท่ากับ 0.75 และค่าความเชื่อมั่นหลังเรียนเท่ากับ 0.75 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้ทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังจากการเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
โกวิทย์ โชติพินิจ. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้การสอนอ่านแบบ MIA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
ณัฏฐินี ทินวงษ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาศิลปากร).
ธีรภัทร สุวรรณพานิช. (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA). (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
ปริตา สงวนทรัพย์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง แรงและความดัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเขียนทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
รัชนี ศรีพรหม. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยการเรียนแบบ MIA (Murdorch) ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Map) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
รินดา รังดิษฐ์. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
Choobua, T., & Sripetpun, W. (2010). Effectiveness of Murdoch Integrated Matthayomsuksa 2 Students. Paper Presented at the 2nd International Conference on Humanities and Social Science, Prince of Songkla University, 1-12.
Gunning, T. G. (1992). Creating Reading Instruction for All Children. Boston: Allyn and Bacon.
Hobri, Dafik, & Hossain, A. (2018). The implementation of learning together in improving students’ mathematical performance. International Journal of Instruction, 11(2), 483-496.
Murdoch, George S. (1986). A More Integrated Approach to the Teaching of Reading. English Teaching Forum, 34(1), 9 – 15.
Schwager, S., Glaser, A., Wick, K., & Berger, U. (2019). Healthy learning together. Development of a Tool for Schools to Prevent Psychological Problems among Children and Adolescents, 14(1), 3-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต