การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • วาสิฏฐี สายสุดใจ -
  • สมภัสสร บัวรอด
  • นิตยา เรืองมาก
  • ณิชารีย์ เทียมเท่าเกิด

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สร้างเสริมสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 2. พัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและการมีส่วนร่วมของชุมชน 3. ศึกษาความพึงพอใจต่อโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้โปรแกรม คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้การเลือกอย่างเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 2. แบบประเมินคุณภาพโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ 3. แบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ไม่มีรูปแบบของการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายที่ชัดเจน และผู้สูงอายุมีความต้องการการออกกำลังกายแบบใหม่ ๆ 2. โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุที่ได้พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและการมีส่วนร่วมของชุมชนมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.65, S.D. =.53) 3. ผู้สูงอายุพึงพอใจต่อโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.77, S.D. = 0.57)

References

กรฐณธัช ปัญญาใส จุฑามาศ กิติศรี และพิชชานาถ เงินดี. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ: The Public Health Journal of Burapha University : Vol.12 No.2 July - December 2017.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). การดูแลผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2564, จาก https://www. dop.go.th /th/know/15/741.

กรมอนามัย. (2560). คู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับเจ้าหน้าที่ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. กรุงเทพฯ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.

จีราพร ทองดี ดาราวรรณ รองเมือง และฉันทนา นาคฉัตรีย์. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2555.

ปัทมาวดี สิงหจารุ. (2558). การออกกำลังกายด้วยลีลาศของผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2558.

รัถยานภิศ รัชตะวรรณ ธมลวรรณ แก้วกระจก วรรณรัตน์ จงเขตกิจ ปิยะพร พรหมแก้ว ดาลิมา สำแดงสาร และดลปภัฏ ทรงเลิศ. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561.

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ 30 : การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562, จาก https://www.parliament.go.th /ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/parcy/057.pdf.

อัมพร พริกนุช และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุชุมชนหมู่บ้านเลิศอุบลเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กันยายน -ธันวาคม 2564.

Keith, D.D. (1972). Human Behavior of World – Man Relations and Organization Behavior. New York: McGraw – Hill Book.

Creighton, J.L. (2005). A Guide Book for Involving Citizens in Community. US: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19

How to Cite

สายสุดใจ ว., บัวรอด ส., เรืองมาก น., & เทียมเท่าเกิด ณ. (2024). การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 124–136. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263339