การจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมของร้านอัญมณีและเครื่องประดับย่านเจริญกรุง-สี่พระยา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธีรวัจณ์ ธนกิจเลิศสกุล -
  • กรรณิกา กุกุดเรือ

คำสำคัญ:

การจัดการ, ความปลอดภัย, อาชญากรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความคิดเห็นการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม และ ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านสถานประกอบการมีผลต่อการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มคือ หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และพนักงานรักษาความปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ใช้สถิติบรรยาย เพื่ออธิบายลักษณะ ระดับของตัวแปร และวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปร

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นต่อการจัดการความปลอดภัยด้านการลดโอกาสตกเป็นเหยื่อ และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสถานประกอบการ ร่วมกันส่งผลต่อการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม ร้อยละ 8.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงพาณิชย์. (2562). สินค้าออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย. สืบค้นเมื่อ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จาก http://www2.ops3.moc.go.th.

กฤษณ์ มีบำรุง. (2556). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี.

กัลยา สุนทรา. (2556). การวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบระบบรักษาความปลอดภัยของร้านทอง.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

กรรณิกา กุกุดเรือ. (2559). เอกสารกองบังคับการวิชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ. สืบค้นเมื่อ29 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จาก http:// www.rpca.ac.th.

ชัยวัฒน์ สลักคา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันปัญหาอาชญากรรม: กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรสามโคก จังหวัดปทุมธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. (2560). 5 ปีส่งออก 1 ล้านล้าน ไทยศูนย์กลางอัญมณีโลก. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563, ฐานเศรษฐกิจ. จาก https://www.thansettakij.com/content/business/240103.

เทอดเกียรติ วงศาโรจน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายปฏิบัติการชุนชมและมวลชนสัมพันธ์เพื่อป้องกันอาชญากรรม อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). เจ้าของร้านอัญมณีย่านเพชรเกษม 63 เผยถูก 3 โจรปล้นเสียหายราว 7 ล้าน สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563, ไทยรัฐ จากhttps://www.thairath.co.th/news/crime/1558616.

พรชัย ขันตี. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการงานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ:ส.เจริญการพิมพ์.

มณีนุช พูลสวัสดิ์. (2555). องค์ประกอบของภูมิทัศน์ทางด้านกายภาพกับการเกิดอาชญากรรมใน พื้นที่สาธารณะ: กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์. กรุงเทพมหานคร.

ระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2563). สถิติฐานความผิดคดีอาญา(คดี 4 กลุ่ม) หน่วยงานกองบัญชาการตำรวจนครบาล ตั้งแต่วันที่ 01 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2562. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563 จาก http://164.115.22.198/nso/phpview.php?folder=uploads/Fairly/File/ &partfile=Data_09010100_1001.xlsx.

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ (องค์การมหาชน). (2560). ไทยวางเป้าหมายสู่การเป็นฮับการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในอีก 5 ปีข้างหน้า. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม ........, จาก https://www. thaitextile.org/th/insign/detail.590.1.0.html.

สมปอง บุญเติม. (2555). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธร เมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.

สุทธิรัตน์ ขจรเวคิน. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในชุมชนบ้านแหล่มแท่น ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาบูรพา. ชลบุรี.

Cohen, L.E., & Felson, M. (1979). “Social change and Crime rate trends: A routine activities approach,” American Sociological Review, 44: 588-609.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

ธนกิจเลิศสกุล ธ., & กุกุดเรือ ก. (2023). การจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมของร้านอัญมณีและเครื่องประดับย่านเจริญกรุง-สี่พระยา กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 142–159. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/262560