การพัฒนาบทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
บทปฏิบัติการ, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยบทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 39 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้บทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่าที (t-test dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี มีประสิทธิภาพ 77.90/76.23 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนด้วยบทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทปฏิบัติการ Kitchen Lab เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรไกร ภูมิไสว. (2559). การพัฒนาบทปฏิบัติการเคมี เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (14 มกราคม 2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. กระทรวงสาธารณสุข.
กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิช. (2542). สัมมนาวิชาการเรื่องผักพื้นบ้านและอาหาร 4 ภาค. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. (2560). กระบวนการเรียนแบบบูรณาการและการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พื้นฐาน เพื่อการผลิตบัณฑิตให้มีทักมะแรงงานในศตวรรมที่ 2. สืบค้นจาก https://kmtlcspu.com/201 7/06/12/kititpoomme/.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์.
ทิพย์อุบล ทิพเลิศ. (2560). การสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ปีที่ 6. สำนักวิชาการศึกษาทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ธาริน บุญถวิล. (2561). การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระแสไฟฟ้า เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นุชนภา พลสวรรค์. (2557). การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะไออนิก เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวรการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณัฏฐพงษ์ เจริญพิทย์. (2563). การวัดผลการเรียน. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พันธ์ ทองชุมนุม. (2547). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
พรเพ็ญ ชนะพันธ์ (2561). การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโตที่มีผลต่อการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิชชานันท์ จันทพรม. (2559). การพัฒนาบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปิโตเลียม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และพิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2542). กิจกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สถาบันคุณภาพวิชาการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (เอกสารอัดสำเนา). กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2564). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (เอกสารอัดสำเนา). กระทรวงศึกษาธิการ.
Nguyen and Keuseman. (2020). Chemistry in the Kitchen Laboratories at Home. Journal Chemical Education, 2020. 97, 3042−3047.
Gao, Lloyd and Kim (2020). A Desirable Combination for Undergraduate Chemistry Laboratories: Face-to-Face Teaching with Computer-Aided, Modifiable Program for Grading and Assessment. Journal Chemical Education, 2020, 97, 3028−3032.
Radzikowski, Delmas, Spivey, Youssef and Kneebone. (2021). The Chemical Kitchen: Toward Remote Delivery of an Interdisciplinary Practical Course. Journal Chemical Education, 2021, 98, 710−713.
Schultz, Callahan and Miltiadous. (2020). Development and Use of Kitchen Chemistry Home Practical Activities during Unanticipated Campus Closures. Journal Chemical Education, 2020, 97, 2678−2684.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต