สิ่งกระตุ้นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริด ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ระชานนท์ ทวีผล 0886116969

คำสำคัญ:

สิ่งกระตุ้น, งานอีเวนต์, คอนเสิร์ตแบบไฮบริด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาค่าระดับสิ่งกระตุ้นและค่าระดับการตัดสินใจการเข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริด (2) เพื่อศึกษาระดับสิ่งกระตุ้นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริด ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ชมที่เข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริด ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สัมพันธ์เพียรสัน และการถดถอยเชิงพหุ

ผลการศึกษาพบว่า (1) ค่าระดับกระตุ้นในการเข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริดทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ ด้านการจัดการ ด้านการให้บริการ ด้านความเป็นธรรม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสื่อสาร สำหรับระดับการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริดอยู่ระดับมากที่สุด และ (2) ตัวแปรอิสระจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นธรรม ด้านการจัดการ ด้านให้บริการ และด้านภาพลักษณ์ ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริด

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). คู่มือหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัย สำหรับนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : กรมการท่องเที่ยว.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
จิตราภรณ์ จรัสรัมย์. (2561). ขั้นตอนการจัดงานอีเวนต์ กรณีศึกษา งาน ICONSIAM Grand Opening จัดโดย บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.
จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2564).การปรับตัวของธุรกิจไมซ์ในยุควิถีใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจในอนาคต. รู้งาน MICE Guru by TCEB, 2021(16), 12-14.
จีณัสมา ศรีหิรัญ, ศศิพัชร์ ปิติโรจน์, และกาญจนา แฮนนอน. (2561). แนวทางการออกแบบกิจกรรมอีเว้นท์เชิงวัฒนธรรมแบบสนุกสนานในบริบทอัธยาศัยไมตรีที่งดงามตามอย่างไทย : กรณีศึกษา วิทยาลัยดุสิตธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 278-295
ชาคริต รถทอง. (2561). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเข้าชมงานเทศกาลดนตรี EDM. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ประชาชาติธุรกิจ. (2564). บูมอีเวนต์-คอนเสิร์ตไฮบริด “บีอีซี-อินเด็กซ์”ปั้นแพลตฟอร์มใหม่ลุย, สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2564, จาก : https://www.prachachat.net/marketing/news-487067.
ปณิชามน ตระกูลสม. (2559). กลยุทธ์ของการจัดงานแสดงสินค้า เครื่องมือสื่อสารการตลาด สร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภค. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(3), 62-78.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 1. (2563, 3 สิงหาคม). ผู้จัดงาน. เรนฟอเรสท์ จำกัด. เลขที่ 399 ซอยลาดพร้าว 130 แขวงคลองจั่น เขตบางปะปิ กรุงเทพฯ 10240. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 2. (2563, 14 สิงหาคม). ผู้จัดงาน. โอเรียลทอล อีเว้นท์ จำกัด . เลขที่ 81/89 ซอยวชิรธรรมสาธิต 31 ถนนสุขุมวิท 101/1 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 3. (2563, 20 สิงหาคม). ผู้จัดงาน. ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน). เลขที่ 4/18-4/19 ซอยนวลจันทร์ 56 แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 4. (2563, 24 สิงหาคม). ผู้จัดงาน. คอสมอส เอวี จำกัด. เลขที่ 44/1-2 ถนน รามคำแหง 21(นวศรี) แขวง พลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 5. (2563, 3 กันยายน). ผู้จัดงาน. มัสคีเทียร์ อีเว้นท์ จำกัด. เลขที่ 1755/1 ชั้น 1 ซ.ลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 6. (2563, 9 กันยายน). ผู้จัดงาน. ไบเทค เมเนจเม้นท์ จำกัด . เลขที่ 4343 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 7. (2563, 11 กันยายน). ผู้จัดงาน. ฮักเวดดิ้งแพลนเนอร์. เลขที่ 191 ซอย 2 แขวง สะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 8. (2563, 20 ตุลาคม). ผู้จัดงาน. รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด. เลขที่ 991 ถนน พระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 9. (2563, 21 ตุลาคม). ผู้จัดงาน. ดี ซิกซ์ตี้ ทรี จำกัด. เลขที่ 276 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240. สัมภาษณ์.
ผู้ให้ข้อมูลหลักหมายเลข 10. (2563, 21 ตุลาคม). ผู้จัดงาน. เมเจอร์ซีรีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน). เลขที่ 6 199/1-2 ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ นนทบุรี 11140. สัมภาษณ์.
ระชานนท์ ทวีผล. (2561) รูปแบบงานอีสปอร์ตของกลุ่มของนักศึกษาชายรักชายที่เข้าร่วมแข่งขันเกมออนไลน์ ROV กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพรชบุรี. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 63-76.
วันเพ็ญ พุทธานนท์. (2564). New Normal ของธุรกิจอีเวนต์จากวิกฤติโควิด19ปรับสู่ออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564, จาก : https://www.thebangkokinsight.com/news /business/covid-19-business/383095/
สำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ. (2564). ธุรกิจการจัดงาน (Event Business), สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564, จาก : https://www.ditp.go.th/contents_attach/211458/211458.pdf
อภัสรา แววสมณะ. (2560). อิทธิพลของ Electronic Dance Music ที่มีผลต่อ Generation-Y. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. ปทุมธานี.

Albaum, G. (1997). The Likert scale revisited. Market Research Society Journal, 39(2), 1-21.
Berridge, G. (2020). Designing event experiences. In The Routledge handbook of events. (378-395). Routledge.
Cochran, W. G. (1977) Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons
Khaleque, N., & Krasteva, G. (2021). Experience Technology. How the Creative Industries Help Increase the Audience Engagement at Virtual and Hybrid Events. Niels Jerns : Aalborg Universitetsforlag ExCITe-serien.
National Council of Educational Research and Training. (2021). Human Ecology and Family Sciences part ll. New Delhi : NCERT Campus Sri Aurobindo Marg.
Sonnabend, H. (2016). Fairness constraints on profit-seeking: evidence from the German club concert industry. Journal of Cultural Economics, 40(4), 529-545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

ทวีผล ร. (2023). สิ่งกระตุ้นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานอีเวนต์คอนเสิร์ตแบบไฮบริด ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 14–28. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/256874